การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท

Main Article Content

คณิน ประยูรเกียรติ
พีรดล Peeradol

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าผสมผสานเพลงพื้นบ้านจังหวัดชัยนาทที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าผสมผสานเพลงพื้นบ้านจังหวัดชัยนาทที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) (ร่าง) โปรแกรมต้นแบบการออกกำลังกายฯ 2) ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมต้นแบบการออกกำลังกายฯ และ 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครผู้สูงอายุชุมชนบ้านใหญ่ ตำบลโพงาม จังหวัดชัยนาท ที่มีอายุ 60 – 70 ปี จำนวน 68 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Simple Random Sampling) ในการคัดเลือกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน ดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายฯ และ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


              ผลการวิจัยพบว่า


              1) โปรแกรมการออกกำลังกายฯ ประกอบด้วย 1.1) ความบ่อยในการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 1.2) ความหนักในการออกกำลังกายอยู่ระหว่าง 60 – 70% ของชีพจรสูงสุด 1.3) ระยะเวลาในการออกกำลังครั้งละ 30 - 45 นาที 1.4) ชนิดของการออกกำลังกายเป็นแบบแอโรบิก 1.5) ขั้นตอนการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนอบอุ่นร่างกายประกอบด้วยท่าทางทั้งสิ้น 7 ท่า ขั้นตอนการออกกำลังกายประกอบด้วยท่าทางทั้งสิ้น 8 ท่า และขั้นตอนการคลายอุ่นประกอบด้วยท่าทางทั้งสิ้น 7 ท่า


              2) ผลการออกกำลังกายฯ พบว่า 2.1) ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ และความอ่อนตัวดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ และความอ่อนตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ประยูรเกียรติ ค., & Peeradol พ. (2024). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท . วารสารคณะพลศึกษา, 26(2). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/1325
บท
บทความวิจัย

References

Aupatumnarakorn, B. (2011). The preservation local wisdom about Rammana dance in Chainat. Chandrakasem Rajabhat University Journal, 17(33), 119 – 126.

Cavill, N., Kahlimeier, S., & Racioppi, F. (2006). Physical activity and health in EUROPE : evidence for action 2006. WHO Regional Office for Europe.

Chainat Provincial Social Development and Human Security Office. (2018). Social situation in Chainat report 2018. Ministry of Social Development and Human Security.

DiPietro, L. (2001). Physical activity in aging: changes in patterns and their relationship to health and function.The Journals of Gerontology. Series A, 56(2), 13 – 22.

Han, T. R. (2002). Exercise in the elderly. Journal of Korean Academy of Rehabilitation Medicine, 26(2), 121 -126.

Health Systems Research Institute. (2020). Physical fitness testing and physical well-being in Thai elderly. Health Systems Research Institute.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.

Ministry of Public Health of Thailand. (2014). Guidelines for training caregivers for the elderly. Elsevier.

Ministry of Tourism & Sports. (2014). Aerobic dance. Elsevier.

Ministry of Tourism & Sports. (2019). Physical fitness test and norm for aged 60 – 69 years old. Ministry of Tourism & Sports.

Ministry of Tourism & Sports. (2020). Exercise for the elderly guidebook. Elsevier

Ministry of Tourism & Sports. (2021). Body weight exercise. Elsevier.

National Statistical Office of Thailand. (2021) The 2021 Survey of the older persons in Thailand. National Statistical Office of Thailand.

Sengarsai, P. (2018). The effect of aerobic exercise for physical fitness in the Elderly. Department of Physical Education and Recreatio, Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

Sukim, S. (2012). An analysis of "Ram-ma-na" folk song in Huaykrot area, Sankhaburi District, Chainat Province [dissertation]. Thammasat University.

The Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2020). Situation of the Thai elderly 2019. Elsevier.

United Nations. (2022). World population prospects 2022. United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division.

Wongsangtien, P., Ownsungnoen, A. & Phusit, R. (2015). The effectiveness of the applied folk art loincloth of the elderly exercise program in Amphur Muang Sukhothai Province. Academic Journal of Institute of Physical Education, 7(3), 1 - 22.

World Health Organization. (2002). World health statistics 2002. World Health Organization.