การสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโด

Main Article Content

ปัญญา อินทเจริญ
รังสฤษฏ์ จำเริญ
พรพจน์ ไชยนอก
นาคิน คำศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬาเทควันโดรุ่นเยาวชนอายุ อายุระหว่าง 15-22 ปี จำนวน 200 คน โดยแบ่งออกเป็นนักกีฬาเทควันโด มีคุณวุฒิระดับสายดำ ซึ่งเป็นนักกีฬาเทควันโดที่มีประสบการณ์แข่งขันระดับชาติและนานาชาติ จำนวน 170 คน เป็นนักกีฬาชาย จำนวน 92 คน อายุเฉลี่ย 17.04 + 1.72 ปี มีประสบการณ์แข่งขัน 8.36 + 2.02 ปี นักกีฬาหญิงจำนวน 78 คน อายุเฉลี่ย 16.96 +1.88  ปี มีประสบการณ์แข่งขัน 8.56 +1.49 ปี และกลุ่มนักกีฬาเทควันโดทั่วไปที่มีคุณวุฒิต่ำกว่าสายดำ เป็นนักกีฬาชาย จำนวน 30 คน  อายุเฉลี่ย 16.13 + 1.25 ปี มีประสบการณ์แข่งขัน 1.96 + 0.71 ปี โดยได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของสเต็ปเท้ารูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ ผ่านการตรวจเครื่องมือด้วยการหาความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และหาค่าความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ระหว่างแบบทดสอบที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบ Nine Square Test, Hexagon Agility Test และ Taekwondo-Specific Agility Test (TSAT) โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson-product moment correlation coefficient) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการวิจัย พบว่า แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโด มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.96 ค่าความเชื่อมั่นมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง  (r=.806) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับแบบทดสอบ 9 Square Test แบบทดสอบ Hexagon Test และแบบทดสอบ Taekwondo Specific Agility Test อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01


สรุปได้ว่า แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้วัดและประเมินผลสมรรถภาพด้านความคล่องแคล่วว่องไวสำหรับนักกีฬานักกีฬาเทควันโด และเพื่อใช้ในการคัดตัวนักกีฬา และพัฒนานักกีฬาเทควันโด ต่อไป


 


 


 


 


 


 


 

Article Details

How to Cite
อินทเจริญ ป. ., จำเริญ ร. ., ไชยนอก พ. ., & คำศรี น. . (2024). การสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวรูปแบบ 8 ทิศทางที่เฉพาะเจาะจงในนักกีฬาเทควันโด. วารสารคณะพลศึกษา, 26(2). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/1357
บท
บทความวิจัย