การจัดกิจกรรมพลศึกษาแบบผสมผสานที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วชิราภรณ์ งามประดิษฐ์
สาธิน ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพัฒนาการจัดกิจกรรมพลศึกษาแบบผสมผสานที่มีต่อการเคลื่อนไหวพื้นฐานของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศน์ร่มเกล้า ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 34 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำแนกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 17 คนได้รับการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบผสมผสานเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 17 คน ได้รับการเรียนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงตรง (IOC =1.0) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2 = 81.90/82.70) และ แบบทดสอบทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการเดิน ทักษะการวิ่ง ทักษะการกระโดด และทักษะการรับบอล ทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงตรง (IOC = 0.97) ค่าความเชื่อมั่น (r = .81) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และสถิติเอฟ ระดับนัยสำคัญที่ .05


              ผลการวิจัยพบว่า


                  1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ทักษะการกระโดดก่อนเรียนกับหลังสัปดาห์ที่ 4 และทักษะการรับบอล ก่อนเรียนกับหลังสัปดาห์ที่ 8 ที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ  


                  2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังสัปดาห์ที่ 4 ทุกรายการไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นคะแนนรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ หลังสัปดาห์ที่ 8 ทุกรายการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้นทักษะการกระโดดที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

How to Cite
งามประดิษฐ์ ว., & ประจันบาน ส. . (2024). การจัดกิจกรรมพลศึกษาแบบผสมผสานที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวพื้นฐานของเด็กปฐมวัย. วารสารคณะพลศึกษา, 27(1). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/1440
บท
บทความวิจัย

References

Altinkok, M. (2016). The effects of coordination and movement education on preschool children’s basic motor skills improvement. Universal Journal of Educational Research 4(5): 1050-1058,2016.

Charoenchaipinan, J. (2017). The development of physical education program for teachers who does not have a degree physical education on primary education level. Dissertation, Ed.D. Health and Physical Education Graduate School, Srinakharinwirot University Bangkok.

Cheloh N. (2020). Learning Experience Design Using Movement and Rhythm Activities to Develop Leadership Traits in Kindergarten Year 3 Children. Journal of Education Technology and Communications, Mahasarakham University. 3(8): 55-67.

Michael, J., Emma L. J., & Samuel, W. (2017). The effects of 10-week integrated neuromuscular training on fundamental movement skills and physical self - efficacy in 6 – 7 year-old children. School of Life Sciences, Coventry University, Coventry, United Kingdom.

Miklánková L. (2018). Education of Children in the Area of Physical Activities as a Foundation for Lifelong Sports. [Online]. Availble from: https://www.researchgate.net.

Ministry of Health. (2018). Board of physical activity promotion program development, physical activity promotion plan B.E. 2018-2030. Bangkok : NC Concept. Ltd.

Office of the Health Promotion Fund (2022). "Manual for Promoting Physical Activities in Children through ACP Concept" in English.http://resourecenter.thaihealth.or.th.

Penglee N, (2019). Effect of Fundamental Movement Skill Program on Motor Skills of Preschoolers . Journal of Education Studies, 47 (3), 196-216.

Pilvas N. (2018). Fine-Motor Development Activities. Retrieved on 24 Nov. 2022 from WWW.taamkru.com/th/fine-motor development activities/.

ThaiHealth.(2019). Exercise for young children.https://www.thaihealth.or.th/?p=227799

Tunthong K. (2019). The Body Movement for The Muscle Structure Development in The Primary Children by Dancing Activity. Bangkok: Faculty of Fine and Applied Arts Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Wattanapa Y. (2019). The development of throwing movement program for enhancing skilled psychomotor domain of undergraduate students in physical education major. Dissertation. Ed.D. Health and Physical Education Graduated School, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Office of the Health Promotion Fund (2022). "Manual for Promoting Physical Activities in Children through ACP Concept" in English.http://resourecenter.thaihealth.or.th.