ผลการฝึกยางยืดและเมดิซินบอลควบคู่โปรแกรมฝึกรักบี้ฟุตบอลที่มีต่อความแข็งแรง และความแม่นยำของทักษะการส่งของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง

Main Article Content

ธนัชพร หวานดี
อนุศักดิ์ สุคง
สาธิน ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกยางยืดและเมดิซินบอลควบคู่โปรแกรมฝึกรักบี้ฟุตบอลที่มีต่อความแข็งแรงและความแม่นยำของทักษะการส่งของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงระดับอุดมศึกษาที่ผ่านการแข่งขันรายการชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 2564 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 การฝึกด้วยยางยืดควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล และกลุ่มที่ 2 การฝึกด้วยเมดิซินบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกยางยืดด้วยควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล 2) โปรแกรมการฝึกด้วยเมดิซินบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล 3) แบบทดสอบความแม่นยำในการส่งลูกรักบี้ฟุตบอล 4) แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยเลือกใช้วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าระหว่างกลุ่ม (t-test Independent) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way repeated measures ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของข้อมูลทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               ผลการวิจัย พบว่า


  • ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการฝึกยางยืดควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล ก่อน การฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการฝึกเมดิซินบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • ค่าเฉลี่ยของความแม่นยำของทักษะการรับส่งลูกรักบี้ ด้วยการฝึกยางยืดควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • ค่าเฉลี่ยของความแม่นยำของทักษะการรับส่งลูกรักบี้ ด้วยการฝึกเมดิซินบอลควบคู่กับโปรแกรมการฝึกรักบี้ฟุตบอล ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  • ผลการเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึกและหลักการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่พบ ความแตกต่างกัน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 และ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบความแม่นยำของทักษะการส่งลูกรักบี้ฟุตบอล ก่อนการฝึกไม่พบความแตกต่างกัน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .05

Article Details

How to Cite
หวานดี . ธ., สุคง อ. ., & ประจันบาน ส. . (2024). ผลการฝึกยางยืดและเมดิซินบอลควบคู่โปรแกรมฝึกรักบี้ฟุตบอลที่มีต่อความแข็งแรง และความแม่นยำของทักษะการส่งของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง. วารสารคณะพลศึกษา, 26(2). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/1441
บท
บทความวิจัย