ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีผลต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ของนักกีฬาเรือพาย

Main Article Content

ศรราม ศิลปศร
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ
สุดยอด ชมสะห้าย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีผลต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และศึกษาความสัมพันธ์ของพลังกล้ามเนื้อขาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเรือพายชายสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีผลต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาเรือพายและเครื่องมือทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาและเครื่องมือทดสอบความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวันซ้ำ สถิติทดสอบแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ผลการทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1930.00 วัตต์ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2333.30 2540.90 และ 2723.30 วัตต์ ตามลำดับ ผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขากลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 106.95 กิโลกรัม หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 125.90 136.60 และ 141.15 กิโลกรัม ตามลำดับ ถือว่านักกีฬามีค่าพลังกล้ามเนื้อขาและความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาหลังการฝึกสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึก

  2. ผลการเปรียบเทียบพลังกล้ามเนื้อขาและความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาระหว่างกลุ่มกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนการฝึกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสถิติทดสอบทีของพลังกล้ามเนื้อขาเท่ากับ 2.825 3.951 และ 5.975 ตามลำดับ และมีค่าสถิติทดสอบความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาเท่ากับ 3.453 6.403 และ 7.736 ตามลำดับ

  3. ผลการวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์ (correlation analysis) โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (pearson correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์พลังกล้ามเนื้อขาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.789 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.690 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.673 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตามลำดับ

คำสำคัญ: พลังกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ความสัมพันธ์พลังกล้ามเนื้อขาและความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา

Article Details

How to Cite
ศิลปศร ศ. ., ปลื้มสำราญ ธ. ., & ชมสะห้าย ส. (2024). ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีผลต่อพลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ของนักกีฬาเรือพาย. วารสารคณะพลศึกษา, 27(2). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/2330
บท
บทความวิจัย

References

American College of Sports Medicine. (2018). ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription. 10th

Edition.

Ngowtrakul, B. (2017). Increasing lower extremity muscle strength and the speed of sit-to-stand by using a motor

imagery control combined with exercise program in older adults: Electromyography and

electroencephalography studies (Doctoral dissertation), Chiang Mai University.

Wannamanee, C. (2006). Effects of plyometric training on leg muscle speed and power. independent research for

Master of Science, Sports Science, Chiang Mai University.

Concept2. (2018). Rowing is a Leg Sport. Retrieved October 15, 2020 From

https://www.concept2.com/news/rowing-leg-Sport-

?fbclid=IwAR2wipz0jzIaY49CUOV6OZ_e03u7jC4Y8JlN2ZBu1662veHky3aVicX9i7s.

International Rowing Federation (FISA). (2018). World Rowing Coaching Manual.

Phurungruang, K. (2005). Effects of leg muscle strength training on weight throwing

in judo athletes. independent research for Master of Science, Sports Science Chiang Mai University.

McNeely, E. (2016). Rowing Stronger: Strength Training to Maximize Rowing Performance.

Prasertsuk, N. (2015). Small-n Experimental Research Design. Silpakorn Educational Research ournal,7(1), 9-25.

Kongkitma, P. (2017). Effects of a plyometric training program on the muscle power and Basketball skills of Young

Male Athletes Studying at Traimit College. Master of Education Thesis ( Physical Education). Graduate

School Kasetsart University. Bangkok.

Redden, J. (2019). Assessing Lower Limb Strength, Power and Asymmetry in Elite Soccer Players using the

Keiser Air420 Seated Leg Press. University of Bath.

Hiranrat, S. (1992). Physical fitness training. Basic sports medicines. Bangkok: Siriraj Nursing Mahidol University.

Silamad, S. (2004). Principles of sports training for sports coaches. Bangkok: Chulalongkorn University.

Silamad, S. (2017). Principles of sports training for sports coaches. (5th Edition). Bangkok: Publisher of

Chulalongkorn University.

Pluemsamran, T. (2000). Sports Medicine: teaching materials for the Physical Education 422. Bangkok:

Department of Physical Education, Srinakharinwirot University, Prasarnmit.

Chansem, W. (2015). Air cylinder muscle power training tools. Academic journal Institute of Physical

Education,193-198.

Sondee, W. (2008). Effects of plyometric training combined with weight training on leg muscle power. Master's

degree in Education Thesis. (Physical Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot

University.

World Rowing. (2021). World Rowing Statutes and Related Bye-Law. From

https://worldrowing.com/technical/rules/2021-rule-book/