ผลของโปรแกรมการฝึกเสิร์ฟลูกมือบนร่วมกับการพูดกับตนเองและการรวบรวมสมาธิ ที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟลูกของกีฬาวอลเลย์บอล

Main Article Content

พัชรียา เพ็งโหมด
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ
จารุวัฒน์ สัตยานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึก เสิร์ฟลูกมือบนร่วมกับการพูดกับตนเองและการรวบรวมสมาธิที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟลูกของกีฬาวอลเลย์บอล ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการ ทดสอบก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกเสิร์ฟลูกมือบนร่วมกับการ พูดกับตนเองและการรวบรวมสมาธิที่มีต่อความแม่นยำ ในการเสิร์ฟลูกและแบบทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟลูกมือบน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติ ทดสอบแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดสอบความแม่นยำในการเสิร์ฟลูกมือบนของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 18.33 คะแนน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.13 26.33 และ 30.33 คะแนน ตามลำดับ ถือว่านักกีฬามีทักษะ การเสิร์ฟลูกมือบนหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก และผลการเปรียบเทียบความแม่นยำในการเสิร์ฟ ลูกมือบนระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองพบว่า ก่อนการฝึกกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน ภายหลังการ ฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมี ค่าสถิติทดสอบทีเท่ากับ 4.208 4.631 และ 4.832 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกเสิร์ฟลูกมือบนร่วมกับการพูด กับตนเองและการรวบรวมสมาธิที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟลูก ของกีฬาวอลเลย์บอลสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำใน การเสิร์ฟลูกมือบนของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ได้

Article Details

How to Cite
เพ็งโหมด พ. ., ปลื้มสำราญ ธ., & สัตยานุรักษ์ จ. (2022). ผลของโปรแกรมการฝึกเสิร์ฟลูกมือบนร่วมกับการพูดกับตนเองและการรวบรวมสมาธิ ที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟลูกของกีฬาวอลเลย์บอล. วารสารคณะพลศึกษา, 25(1), 25–35. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/434 (Original work published 21 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

Belem, I. C., Caruzzo, N. M., Junior, J. R. A. N., Vieira, J. L. L., & Vieira, L. F. (2014). Impact of coping

strategies on resilience of elite beach volleyball athletes. Revista Brasileira de

Cineantropometria e Desempenho Humano, 16(4), 447-455.

Boonweerabut, S. (1998). Sports psychology. Chonburi: Chonburi Printing.

Cox, R.H. (2012). Sport psychology: Concepts and applications. 7th edition. McGrew-Hill. USA.

Deachchaisri, A. (1999). Principles of sports training. Bangkok: Odeon Store.

Department of Physical Education. (2014). Mental skills training for athletes. Bangkok: Lux Advertising.

Hongjarearn, T. (1996). Teaching Techniques: Organizing Badminton Competition. Bangkok:

Chulalongkorn University Book Center.

Jantaruthai, S. S. (1999). Sports psychology, Concepts, theories and practices. Bangkok: Chulalongkorn

University.

Kamsook, A. (2000). Volleyball 2000. Bankok: Ruakweaw.

Kwuanboonjan, S. (1998). Sports psychology. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Mairat, G. (2008). Serving volleyball. Bangkok: Graduate School Kasetsart University.

Pluemsamran, T. (2016). Psychological strategies of sepak takraw athletes in the provincial sports

development project (Sports Hero) with Thai national team sepak takraw athletes. Master of

Science degree (Sports Science and Exercise). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot

University.

Pootijan, P. (2004). Volleyball. Bangkok: Odeon Store.

Prachakun, W., Wongjaturapat, N., & Muengnapoe, P. (2009). How to build Sports self-confidence of

Thai national team athletes. Method of creation. Bangkok: Kasetsart University.

Sanguanpong, U. (2000). Guide to playing volleyball. Bankok: Ruakweaw.

Sinlapawittayakul, K. (2001). Volleyball, rules, basics of playing. Bangkok: Banpanya.

Special Olympic. (2019). Volleyball Skill Assessment Test (VSAT). [internet]. 2021 [cite 2021 March 30]

Available from https://ksso.org/wp-content/uploads/2018/06/2018-Volleyball-Skills-

Assessment-Test-VSAT.pdf.

Srilamad, S. (2004). Principles of sports training for sports trainers. Bangkok: Publishing House

Chulalongkorn University.

Suwantada, S. (2005). Learning theoretical and practical motor skills. Bangkok: School of Sports

Science Chulalongkorn University.

Thailand Volleyball Association. Volleyball serving statistics. [internet]. 2021 [cite 2021 March 1]

Available from http://www.volleyball.or.th.

Wiratchai, N. (2012). Accurate and modern method for determining sample. Bangkok: Office of the

National Research Council of Thailand.

Yooktanan, C. (1989). Volleyball Instruction Manual Secondary level. Bangkok: Religious printing house.