ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการปักไม้ในนักกีฬากระโดดค้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการปักไม้ในนักกีฬากระโดดค้ำ กลุ่มตัวอย่างคือนักกีฬากระโดดค้ำ ที่ทำการฝึกซ้อมในสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยและศูนย์ฝึกกระโดดค้ำ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จังหวัดนครปฐม จำนวน 12 คน เพศชาย 7 คน เพศหญิง 5 คน อายุระหว่าง 16-25 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมการฝึกจินตภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างฝึกจินตภาพก่อนการฝึกซ้อมปกติสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความสามารถในการปักไม้โดยแบบประเมินความสามารถในการปักไม้ค้ำ โดยการวิเคราะห์มุมในการปักไม้ด้วยกล้องวีดีโอ ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เพื่อใช้พรรณนา อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ระยะเวลาที่ผ่านการฝึกกระโดดค้ำ และสถิติเชิงอนุมานคือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measure) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของความสามารถในการปักไม้ของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละช่วงได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทดสอบความแตกต่าง เป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni
ผลการวิจัย พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างจานวน 12 คน เป็นเพศชาย 7 คน เพศหญิง 5 คน มีเกณฑ์เฉลี่ยอายุ 17.75 ปี ส่วนสูง 173.85 เซนติเมตร น้าหนัก 65.75 กิโลกรัม และระยะเวลาที่ผ่านการฝึกกระโดดค้า 4.67 ปี มีความสามารถในการปักไม้(องศาของร่างกาย) ก่อนการทดลองคือ 98.04 องศา หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 คือ 96.53 องศา และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 คือ 93.37 องศา แสดงให้เห็นว่านักกระโดดค้ำ มีความสามารถในการปักไม้แตกต่างจากก่อนได้รับการฝึกจินตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จึงทาการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni พบว่า ก่อนได้รับการฝึกจินตภาพและหลังได้รับการฝึกจินตภาพสัปดาห์ที่ 4 และ 8 แตกต่างกันทุกคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จึงสรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมการฝึกจินตภาพในการฝึกการปักไม้ในนักกีฬากระโดดค้ำ สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการปักไม้ในนักกีฬากระโดดค้ำ ที่ทำ การฝึกซ้อมในสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยและศูนย์ฝึกกระโดดค้ำ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จังหวัดนครปฐมได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสาร เป็นทัศนะของผู้เขียน คณะพลศึกษาไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไปผู้ใดประสงค์จะนำข้อความไปตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนโดยตรง
References
Cassirame, G. (2017). The Elevated Track in Pole Vault: An Advantage During Run-Up. International Journal of Sports
Physiology and Performance, 13(6), 717-723.
________. (2019). Differences in approach run kinematics: successful vs. unsuccessful jumps in the pole vault. The
International Journal of Performance Analysis in Sport, 19(5), 794-808.
Edouard, P. (2019). Biomechanical Pole Vault Patterns Were Associated With a Higher Proportion of Injuries. Front
Sports Act Living, 1(20), 201-212.
Gros, H.J. & Kunkel, V. (1988). Biomechanical analyses of the pole vault. Scientific Research Project at the Games of
the XXIVth Olympiad Seoul 1988, 1(5), 219–260.
Gross, P. (2019). Prioritizing Physical Determinants of International Elite Pole Vaulting Performance. Journal of strength
and conditioning research, 34(1), 162-171.
Hanley, B. (2019). Biomechanical Report for the IAAF World Indoor Championships 2018: Pole Vault Men. Birmingham
UK: International Association of Athletics Federations.
Haruthai Petviset and Sasima Pakulanon. (2 015). The Comparison of Imagery Training Combined with Serving Skill
Training Continuous and Non-Continuous on The Accuracy of Serving, Heart Rate and Salivary Alpha-amylase
During Serving in SEPAK TAKRAW Athletes. Journal of Sports Science and Technology, 15(2), 101-110.
Linthorne, Nicholas P. (2000). Energy loss in the pole vault take-off and the advantage of the flexible pole. Sport
engineering, 4(3), 205-218.
Nanay, Bence. (2018). Multimodal mental imagery. Cortex, 2018(105), 125-134.
Olsson, C. J. (2008). Internal imagery training in active high jumpers. Scandinavian Journal of Psychology, 49(2), 133–
Onea, G. A. (2017) Theoretical and Pracital Dimensions of Motor Imagery applied for Hurdles, Pole Vault and Throwing
Events. Sciences of Human Kinetics, 10(59), 59-64.
Petrov, V. (2004). Pole Vault state of art. IAAF, 19(3), 23-32
Pichaya Kanha. (2014). The Effect of the Imagery Training Programs on the Level of Confidence and Accuracy of Goal
Shooting in Hockey. [Master’s Thesis]. Kasersart University.
Rosa, M. (1994). Biomechanical Analysis of the Pole Vault Event. Journal of Applied Biomechanics, 10(2), 147-165.
Salinee Tilungkha. (2018). The Effect of Swimming Instruction Using Imagery Training Program Watching VDO on Crawl
Style Swimming Skill. [Master’s Thesis] Ramkhamhang University.
Schade, F. & Arampatzis, A. (2012). Influence of pole plant time on the performance of a special jump and plant
exercise in the pole vault. Journal of Biomechanic, 45(9), 1625-1631.
Tianchai Channarongsak. ( 2011) . The Effects of Imagery Relaxation Training Upon Heart Rate Variability. [Master’s
Thesis] Srinakharinwirot University.