การพัฒนาระบบการประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวิเชียรบุรี

ผู้แต่ง

  • ษมา ตุ้ยหล้า ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การประสานรายการยา, ความคลาดเคลื่อนทางยา, 3 P (Purpose-Process-Performance)

บทคัดย่อ

การประสานรายการยา (medication reconciliation: MR) เป็นกระบวนการค้นหาความแตกต่างของรายการยา
ที่แพทย์สั่งใช้เพื่อป้องกันความคลาดเลื่อนทางยาในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและผู้ป่วยได้รับความ
ปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการประสานรายการยา
ในแผนกผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวิเชียรบุรี แบ่งเป็น
2 กลุ่มตามช่วงระยะเวลาของการศึกษา คือ กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มผู้ป่วยก่อนการพัฒนาระบบ 6 เดือน (pre-period) คือ
ช่วงวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 4,976 ราย และกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มผู้ป่วยหลังการพัฒนา
ระบบ 6 เดือน (post period) คือช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จำนวน 5,240 ราย รวมกลุ่ม
ตัวอย่างทั้งหมด 10,216 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยระบบการประสานรายการยาที่พัฒนาขึ้น ตามแนวคิด
3P (Purpose – Process – Performance) แบบบันทึกการประสานรายการยาและแบบประเมินความพึงพอใจของ
ทีมสหสาขาวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลที่แผนกผู้ป่วยในระหว่างเดือน เมษายน 2564 ถึง มีนาคม 2565 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ กำหนดระดับ
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่าหลังการพัฒนากระบวนการประสานรายการยามีแนวทางตรงตามแนวทาง 3 P ทุกรายการ และ
ความคลาดเคลื่อนทางยาทุกประเภทภายหลังการพัฒนาระบบต่ำกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย
ความคลาดเคลื่อนทางยาที่ลดลงมากที่สุดภายหลังการพัฒนาระบบ คือ pre-dispensing error (3.6%,11.3%,
p<0.001), รองลงมา คือ prescribing error (5.7%, 7.5%, p<0.001), transcribing error (2.3%, 4.1%, p<0.001),
dispensing error (0.4%, 1.0%, p<0.001) และ administration error (0.3%, 1.0%, p<0.001) นอกจากนี้บุคลากร
ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบการประสานรายการยาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (Mean=4.25, S.D.=0.6)
โดยสรุปผลการวิจัยนี้สะท้อนประสิทธิผลของกระบวนการประสานรายการยาที่พัฒนาขึ้นจึงควรนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาและผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

05-07-2024

How to Cite

1.
ตุ้ยหล้า ษ. การพัฒนาระบบการประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวิเชียรบุรี. PMJ [อินเทอร์เน็ต]. 5 กรกฎาคม 2024 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];3(2):137-9. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PMJ/article/view/2838