การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิสของโรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2566
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคเมลิออยโดสิส , โรงพยาบาลสตึกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขั้นตอนการดำเนินงานของระบบเฝ้าระวังโรคเมลิออยโดสิส รวมถึงคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งเสนอแนะการพัฒนาระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาลสตึก การศึกษาเป็นแบบภาคตัดขวางโดยใช้วิธีการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาผลลัพธ์เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างที่ออกแบบโดยผู้ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การศึกษาเชิงปริมาณทำโดยทบทวนเวชเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับปริการที่โรงพยาบาลสตึกระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 965 ราย โดยใช้รหัสโรค ICD-10 ที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม Microsoft Excel และแสดงผลในรูปแบบของจำนวนและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ยอมรับระบบรายงานว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนและสามารถปรับใช้ได้หากมีการเปลี่ยนแปลงนิยามโรค นอกจากนี้ยังพบว่าผู้รายงานสามารถทดแทนกันได้ดีและการรายงานมีความรวดเร็ว ในส่วนของการประเมินระบบเฝ้าระวังตามนิยามของกองระบาดวิทยาพบว่าค่าความไวอยู่ที่ร้อยละ 25 (2/8) และค่าพยากรณ์บวกอยู่ที่ร้อยละ 22.2 (2/9) ส่วนการประเมินตามแนวทางของโรงพยาบาลสตึกพบค่าความไวอยู่ที่ร้อยละ 10.16 (6/59) และค่าพยากรณ์บวกที่ร้อยละ 66.7 (6/9) สำหรับความครบถ้วนของข้อมูลตัวแปรสำคัญ เช่น เพศ อายุ และที่อยู่ขณะป่วย พบความถูกต้องร้อยละ 100 (9/9) แต่ข้อมูลวันเริ่มป่วยและรหัสการวินิจฉัยยังพบความคลาดเคลื่อนร้อยละ 55.5 (5/9) และ ร้อยละ 22.2 (2/9) ตามลำดับ การรายงานภายใน 7 วันทำได้ ร้อยละ 77.7 (7/9) โดยรวมพบว่ามีข้อจำกัดในด้านการรายงานที่ยังไม่ครอบคลุมและค่าความไวและค่าพยากรณ์บวกที่ยังคงต่ำ คำแนะนำคือควรมีการกำกับดูแลและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งทบทวนข้อมูลเพื่อให้การรายงานมีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคให้ดีขึ้น

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.