ผลการพัฒนาระบบเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ โรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วรรณี วุฒิเกตุ กลุ่มงานการพยาบาล/หน่วยจ่ายกลาง
  • มนัญญา ดิษฐสกุล กลุ่มงานการพยาบาล/หน่วยจ่ายกลาง
  • หทัยกานต์ พานทอง กลุ่มงานการพยาบาล/หน่วยจ่ายกลาง

คำสำคัญ:

หน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาล, ระบบเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ, โปรแกรมเบิกจ่ายกลางสำเร็จรูป, อุปกรณ์ปราศจากเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ ประเมินความพึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการระบบการเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ และเพื่อประเมินความเสี่ยงในระบบการเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม สุ่มแบบเฉพาะเจาะจงคือ เจ้าหน้าที่หน่วยจ่ายกลางที่ปฏิบัติงานมามากกว่า 6 เดือน จำนวน 20 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบการเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อจากหอผู้ป่วย ปฏิบัติงานมามากกว่า 6 เดือน จำนวน 84คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ระบบเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ โรงพยาบาลสมุทรปราการ แบบสอบถามและแบบบันทึกผลการให้บริการเบิกจ่ายปราศจากเชื้อ ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับที่ 0.920

ผลวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการเบิกจ่ายอุปกรณ์ที่พบมากที่สุดคือ การจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อไม่ทันใช้งานตรวจรักษาผู้ป่วย จำนวน 29 ครั้ง ซึ่งจ่ายเกินเวลาที่กำหนดมากกกว่า 20 นาที และมีค่าใช้จ่ายในการเบิกอุปกรณ์ 25,000 ต่อปี จึงได้พัฒนาปรับเปลี่ยนการเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อที่ใช้มาระยะหนึ่งแล้ว และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ และนำผลความพึงพอใจที่ได้ ไปพัฒนาระบบการเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ หน่วยจ่ายกลางให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจด้านการใช้งานโปรแกรมของผู้ให้บริการ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.21), (S.D.=0.512), ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.27), (S.D.=0.576) และพบอุบัติการณ์ความเสี่ยงการส่งอุปกรณ์ให้ผู้รับบริการใช้งานไม่ทันการตรวจรักษาผู้ป่วยลดลง ในปี 2563 พบจำนวน 29 ครั้ง ปี 2566 พบ 1 ครั้ง

References

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ความรู้ในการทำลายเชื้อและการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่:บริษัท มิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด;2565.

ราตรี นาคกลัด. การพัฒนาระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาพยาบาลศาสตร์; 2559.

วิเศษ เติมใจ, สมศักดิ์ วสุวทิติกุล, นงนุชแย้มวงษ์, สายใจ ชอบงาม. ผลการประเมินการใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพการทำปราศจากเชื้อในหน่วยงานเครื่องมือปลอดเชื้อ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะแพทย์ศาสตร์. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี; 2553.

ดวงพร พงษ์ศรีลา, พลอยนภัส ธนากุลธัญสิทธิ์, สมฤดี ชัชเวช. ผลของการรับ-ส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบ Jet in Time งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561;32(4):1383-1396.

Zeithaml VA, Parasuraman A, Berry, LL. Delivering Quality Service, New York: The Free Press; 1994.

ณัฏฐาสิริ ยิ่งรู้. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลสิงบุรี. 2555;26(1):1-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

1.
วุฒิเกตุ ว, ดิษฐสกุล ม, พานทอง ห. ผลการพัฒนาระบบเบิกจ่ายอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 10 เมษายน 2025];1(2):31-46. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/1607