ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ศรินดา เขียวพันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็น การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างมีระบบ (systematic sampling) จำนวน 300 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 3) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 4) พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาความสัมพันธ์ ได้แก่ Pearson correlation coefficient

ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.561, p < 0.001) และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.528, p < 0.001)

References

World Stroke Organization. The top 10 causes of death. [Internet]. [cited 2022 February 21]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death#. YhJBDXoc8HO

สุภา เกตุสถิต. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2554.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจาปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2555.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต].; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด; 2555.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนและ เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลของกระทรวงสาธารณสุข (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2566). สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566.

วนิดา แสวงผล. การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูงและอ้วนลงพุง. กรมอนามัย ศูนย์อนามัยที่ 5; 2555.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

วริสรา ลุวีระ, เดือนเพ็ญ ศรีขา, ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนโดย อาสาสมัคร: การรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2556;28(2):199-204.

ทิพวรรณ์ ประสานสอน และพรเทพ แพรขาว. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2556;31(2):36-43.

Maiman LA, Becker MH. The health belief model: Origins and correlates in psychological theory. Health Education Monographs, 1974;2(4):336-53.

ณัชชา เจริญสรรพกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการรับรู้อาการเตือนกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2563;3(3):46-58.

Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons; 1995.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. การวิจัยบริการทางสุขภาพ. ฉะเชิงเทรา: ห้างหุ่นส่วนจํากัด แฮม คอมพิว ออฟเซท; 2554.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Likert R. “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son; 1967. pp. 90-95

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (ncds) (situation on ncds prevention and control in thailand). นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2560.

วาสนา เหมือนมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางระกา จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2557;9(2):156-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
เขียวพันธ์ ศ. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 7 เมษายน 2025];2(2):18-36. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/3026