ผลการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้แบบประเมิน Nutrition Alert Form (NAF) เปรียบเทียบกับ Malnutrition Inflammation Score (MIS) โรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
Nutrition Alert Form (NAF), Malnutrition Inflammation Score (MIS), Easy Dietary Assessment (EDA), ฟอกเลือด, ภาวะทุพโภชนาการบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แบบประเมินภาวะโภชนาการ Nutrition Alert Form (NAF) กับ Malnutrition Inflammation Score (MIS) และศึกษาปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ผู้ป่วยได้รับจากอาหารที่บริโภค ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในศูนย์ไตเทียม 1 และ 2 ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 65 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประแบบเมินภาวะโภชนาการ NAF, MIS แบบบันทึกอาหาร 24 ชั่วโมง และแบบประเมินการรับประทานอาหารอย่างง่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง Easy Dietary Assessment (EDA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ROC curve และ kappa analysis วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยใช้สถิติ Pearson correlation และ Spearman's correlation ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.54 ระยะเวลาที่ฟอกเลือดมากกว่า 45 เดือน ร้อยละ 26.15 การประเมินภาวะโภชนาการด้วย NAF และ MIS พบภาวะทุพโภชนาการระดับ ปานกลาง ร้อยละ 64.62 และ 53.84 ระดับรุนแรง ร้อยละ 15.38 และร้อยละ 33.85 ตามลำดับ เมื่อใช้ MIS เป็นค่ามาตรฐาน ค่าตัดคะแนนที่เหมาะสมของ NAF เพื่อวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ คือ 8 มีค่าความไว ร้อยละ 77.27 ความจำเพาะร้อยละ 72.0 ความสอดคล้องของค่าตัดคะแนนโดยใช้ Kappa และ ROC curve มีค่า AUC ROC = 0.747 ค่าความสอดคล้องปานกลาง (kappa = 0.458, p < 0.001) กลุ่มตัวอย่างที่อายุ > 60 ปี และอายุต่ำกว่า 60 ปี ได้รับพลังงานจากอาหารที่บริโภคเฉลี่ย 940.72 และ 1151.11 กิโลแคลอรีต่อวัน ตามลำดับ ได้รับโปรตีนเฉลี่ย 44.57 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 64.81 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน
ดังนั้น NAF สามารถวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทน โดยใช้จุดตัดภาวะทุพโภชนาการระดับรุนแรงเมื่อ NAF ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป
References
กรมควบคุมโรค. สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus [อินเทอร์เน็ต]. ภัทระ คำพิทักษ์, บรรณาธิการ. นนทบุรี: มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27217
กรมอนามัย. AnamaiMedia [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/090366/
อุถัมภ์ ศุภสินธุ์. Nutrition in Dialysis. ใน: บัญชา สถิระพจน์, พามิลา ทรรศนะวิภาส, ปรมัตถ์ ธิมาไชย, เนาวนิตย์ นาทา, อุถัมภ์ ศุภสินธุ์. Pocket Dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2565. หน้า 472-87.
ศิรินทร์ จิวากานนท์. โภชนบำบัดในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบเรื้อรัง. ใน: สมชาย เอี่ยมอ่อง, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, เกรียง ตั้งสง่า, ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์, ขจร ตีรณธนากุล, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. HEMODIALYSIS RENAL REPLACEMENT THERAPY. [ม.ป.พ.]; [ม.ป.ป.]. หน้า 1918-39.
สมพร ชินโนรส. ภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2562;(5):1-8.
รัฐวีร์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล. แนวทางการประเมินภาวะทุพโภชนาการในโรคไต. ใน: อภิชัย โภคาวัฒนา, สุรชาติ จรูญพิพัฒน์กุล, ปัญนิภา บุบผะเรณู, วรรณิยา มีนุ่น, เบญจมาภรณ์ เมฆรักเสรี. HIGHLIGHT IN INTERNAL MEDICINE. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2565. หน้า 321-38.
ศิรินทร์ จิวากานนท์, ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์, ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย, วีระเดช พิศประเสริฐ, อาคม นงนุช, และคณะ. คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ.2561. วารสารโภชนบำบัด [อินเทอร์เน็ต]. ก.ค.-ธ.ค. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธ.ค. 2566];28:18-67. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/248367
ชนิดา ปโชติการ. การดูแลภาวะโภชนาการในโรคไตเรื้อรัง. ใน: สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ, ไกรวิพร เกียรติสุนทร, พงศธร คชเสนี, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, ธนันดา ตระการวนิช. ตำราโรคไตเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2562. หน้า 716-34.
Ripon MSH, Ahmed S, Rahman T, Rashid H-U, Karupaiah T, Khosla P, et al. Dialysis capacity and nutrition care across Bangladesh: A situational assessment. PLoS ONE[Internet]. 2023 Sep [cited 2023 Sep 30];18(9):[about 17 p.]. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0291830
ศานิต วิชานศวกุล. การคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการ. ใน: สิรการต์ เตชะวณิช, วีระเดช พิศประเสริฐ, ส่งศรี แก้วถนอม, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์, บรรณาธิการ. Nutrition Review. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2560. หน้า 9-25.
Metz CE. Basic principles of ROC analysis. Semin Nucl Med. 1978 Oct;8(4):283-98.
Landis JR, Koch GG. The measurement of observer agreement for categorical data. ฺBiometrics. 1977 Mar;33(1):159-74.
Dancey CP, Reidy J. Statistics without Maths for Psychology. Pearson Education; 2007
พิมพ์วลัญช์ ศรีสาร, กชณากาญ ดวงมาตย์พล. ผลของโปรแกรมการดูแลภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2566;14:210-29.
สุทธิยา อนุมาศ, เอกพงษศ์ สุรินทร์รัฐ, มณฑิรา เขียนลิขิต, ภาวินี สุริยะ, นัทยา สีทาดี, อภิชาติ ฉัตรไกรเลิศ. ประสิทธิภาพของการใช้แบบประเมิน Nutrition Alert Form เทียบกับแบบประเมิน Malnutrition- Inflammation Score เพื่อประเมินภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารโภชนบำบัด. 2566;31:1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.