ประสิทธิผลของการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านโดยรูปแบบแอพพลิเคชั่นไลน์ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และบุตรหลังคลอด ของมารดาครรภ์แรก ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน, รูปแบบแอพพลิเคชั่นไลน์, พฤติกรรมการดูแลตนเองและบุตรหลังคลอด, มารดาครรภ์แรกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อพัฒนาการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านรูปแบบแอพพลิเคชั่นไลน์ เปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและบุตรหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับมารดาและบุตรหลังคลอด และความพึงพอใจ โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาครรภ์แรกที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและบุตร แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับมารดาและบุตรหลังคลอด และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ เท่ากับ .701 และแบบประเมินความพึงพอใจ เท่ากับ .650 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ สถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test , Chi-Square
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเตรียมความพร้อมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านรูปแบบแอพพลิเคชั่นไลน์ คะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและบุตรหลังคลอดในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ในกลุ่มควบคุมพบภาวะแทรกซ้อนของมารดา คือน้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 2 สัปดาห์ หัวนมแตกถลอกเจ็บหัวนม ส่วนในกลุ่มทดลองพบเฉพาะหัวนมแตกถลอกเจ็บหัวนม ในส่วนภาวะแทรกซ้อนของบุตรพบเฉพาะในกลุ่มควบคุม คือมีผื่นตุ่มหนองตามร่างกาย และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (`=2.89 )
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2562-พ.ศ.2569) ว่าด้วยการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด;2560.
ปฤษณพร ศิริจรรยา. ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตนในหญิงหลังคลอดโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2560;42(3):11-20.
Meleis AI. Transitions theory: middle range and situation-specific theories in nursing research and practice. New York: Springer; 2010.
วรัญญา ชลธารกัมปนาท, จันทิมา ขนบดี, ปรานี ป้องเรือ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและทาแรกเกิดของมารดาครรภ์แรก. วารสารวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระปกเกล้า. 2561;29(1): 29-41.
กมลวรรณ ลีนะธรรม, ธนิดา จุลย์วนิชพงษ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของมารดาหลังคลอด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2557;11(1):1-11.
Fahey & Shenassa. Understanding and Meeting the Needs of Women in the Postpartum Period: The Perinatal Maternal Health Promotion Model. J Midwifery Wom Heal. 2013;58(6)
กนกพร นทีธนสมบัติ. ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน:กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ์ปกติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2555;16(31):103-116.
ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลี. ความกังวลของมารดาที่มีต่อทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557
สุปรียา สมบูรณ์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากลำบากในการปรับตัวของมารดาในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหออภิบาลทารกแรกเกิดสู่บ้าน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;27(4):32-41.
เพียงเพ็ญ รักจริง, วาสนา รอดรัตน์, วรรณา เอ้งฉ้วน, บุบผา รักษานาม. ประสิทธิผลของ Social Care Network Model ในการดูแลตนเองและบุตรของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. TJPHS 2562;2(3):69-79. เข้าถึงได้จาก: https//www.tci-thaijo.org
กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ออฟฟิเซียสแอดเคานท์สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(2):623-641.
Kaur J, Kaur K. Obstetric complication: Primiparity Vs. Multipartity. Eur J Exp Biol. 2014;2(5):1462-68.
Cohen J, Cohen P. Applied multiple regression/Correlation. Analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersy: Lawrence Erilbaum Associates; 1983.
Bloom BS. ‘Learning for Mastery’ Evaluation Comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles. 1986; 2, 47-62.
Best JW. Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy: Printice-Hall; 1970.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์, ทิพวิมล ชมภูคำ, ธเนศ ยืนสุข. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของมารดาหลังคลอด [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562.
ดวงดี ศรีสุขวัน, วันทนา มาตเกตุ, นฤวรรณ นิไชยโยค. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลกระทุ่มแบน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2563;3(2):37-43.
วรรษมน ปาพรม. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(3):167-168.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.