ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้โรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พิมพ์กมน กิตติพงษ์วรกิจ โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • ปรวรรณ รอดบุญชัย โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • นฤมล ศิริชัย โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

โรคธาลัสซีเมีย, ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย, ความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมีย, การดูแล, ความพึงพอใจ, โปรแกรมส่งเสริมความรู้, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (pre-experimental research) เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง (one group pre-posttest design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการส่งเสริมความรู้ของญาติผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย 2) เพื่อประเมินความรู้ของญาติในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการส่งเสริมความรู้โรคธาลัสซีเมียของญาติ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียทั้งเพศหญิงและเพศชายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียอายุระหว่าง 2-15 ปี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sample) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล, ความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียของเด็กและญาติ, การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย และความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนการส่งเสริมความรู้ เท่ากับ 8.85 เต็ม 15 คะแนน และหลังการส่งเสริมความรู้ เท่ากับ 13.15 เต็ม 15 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มีการดูแลที่ถูกต้อง คือ การเด็กรับประทานยาบำรุงเลือดอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 95 รองลงมา คือ ขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ร้อยละ 75 การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง คือ ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทที่มีธาตุเหล็กสูง ร้อยละ 60 ในภาพรวมของความพึงพอใจหลังจากได้รับโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.55)

References

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, พจนารถ สารพัด, มณีพร ภิญโญ. รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2020

กรมการแพทย์. “โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย” โรคทางพันธุกรรมที่น่าเป็นห่วงในประเทศไทย. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. ;2561 เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/116500

Kuttarasang R, Sananreangsak S, Teerarungsikul N. Effect of family management promotion program on maternal management and health status of school-age children with Thalassemia. Thai Journal of Nursing. 2017.66(3):1-10. [In Thai].

Pitchalard K, Moonpanane K. Improvement of a continuing care model in child with Thalassemia and caregivers. Nursing Journal, 2013;40(3):97-108. [In Thai].

Viprekasit V. Comprehensive management for Thalassemia. Journal of Hematology Transfusion Medicine, 2013. 23(4), 303-320. [In Thai]

Sanee A. Self-management program in chronic diseases. Journal of The Thai Army Nurses, 2014. 15(2), 129-134. [In Thai].

เกศมณี มูลปานันท์, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเด็กวันเรียนโรคธาลัสซีเมีย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2553.

Bandura A. Social Learning Theory. New Jersey: Englewood Cliffs; 1997.

Good CV. Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill. (1973).

Bloom BS, et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company. (1971)

ภูษณิศา มาพิลูน. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และความสามารถในการดูแลเด็กของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็ก. วารสารสภาการพยาบาล. 2016; 31(2):52-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

1.
กิตติพงษ์วรกิจ พ, รอดบุญชัย ป, ศิริชัย น. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้โรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 10 เมษายน 2025];1(2):66-82. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/1708