ผลการใช้แนวทางปฏิบัติหลังผ่าตัดต้อกระจกผ่าน line official ในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ต้อกระจก, การผ่าตัด, Line Official Account, ความรู้, การปฏิบัติตัวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็น การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจกผ่าน Line Official Account และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ Line Official Account กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เข้ารับการผ่าตัดที่หอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสมุทรปราการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก แบบวัดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก และแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้ Line Official Account ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ ทดสอบความเชื่อมั่นด้านความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก ด้วยวิธี KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.654 ทดสอบความเชื่อมั่นด้านการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธี อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.705 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่าการใช้ Line Official Account ในการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก และความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (=3.65) และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก รวมถึงความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดต้อกระจก หลังใช้ Line Official Account มีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
References
วริศรา อินทรแสน, วรรณวีร์ บุญคุ้ม, คณิต เขียววิชัย. การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของผู้สูงอายุด้าน ความสุขในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2020;12(24):78-90.
ลักษณาพร กรุงไกรเพชร. ต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวาน. บูรพาเวชสาร. 2561;5(1):95-103.
คณะกรรมการส่งเสริมประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2545.
อาภัทร สาเล็กสกุล. จักษุวิทยา รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
อังคนา อัศวบุญญาเดช, ดุจดาว ศุภจิตกุลชัย, วริศนันท์ ปุรณะวิทย. ผลการสอนสุขศึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการปฏิบัติตัวหลังทำผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก. บูรพาเวชสาร. 2565;9(1):67-89
โรงพยาบาลสมุทรปราการ. รายงานแบบประเมินตนเอง ปี 2566.
กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2019;2(3):17-30.
Bloom BS. Taxonomy of Education Objectives: The classification of education goal. New York: Longman; 1986.
Best JW. Research in education. Englewood Cilifts. New Jersy: Printice-Hall; 1970.
เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ, กัลยา ใจรักษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ (Doctoral dissertation). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.