ผลของการออกกำลังกายด้วยตาราง 4 ช่อง เปรียบเทียบกับตาราง 9 ช่อง และวิดีโอออก กำลังกายกล้ามเนื้อขา ต่อความสามารถในการทรงตัว และความสามารถทางกายในผู้สูงอายุ ชมรมสูงอายุ โรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ออกกำลังกายด้วยตาราง 4 ช่อง, การทรงตัว, ความสามารถทางกาย, ล้มบทคัดย่อ
ผู้สูงอายุมีความเสื่อมเกิดขึ้นในหลายระบบของร่างกาย และอาจนำไปสู่การหกล้ม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวให้มีความแข็งแรง ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงท่าและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม การออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่อง เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการหกล้ม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการออกกำลังกายด้วยตาราง 4 ช่องมาใช้ป้องกันการหกล้มซึ่งได้ผลในทางคลินิกเช่นกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ “ผลของการออกกำลังกายด้วยตาราง 4 ช่อง ตาราง 9 ช่อง และวิดีโอออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา ต่อการทรงตัวและความสามารถทางกายในผู้สูงอายุ ชมรมสูงอายุ โรงพยาบาลสมุทรปราการ” เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้สูงอายุ 53 คน ได้รับการสุ่มออกกำลังกายเข้ากลุ่ม 1 ด้วยตาราง 4 ช่อง 18 คน กลุ่ม 2 ด้วยตาราง 9 ช่อง 18 คน และกลุ่ม 3 ด้วยวิดีโอออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา 17 คน ฝึกตามโปรแกรมที่บ้าน 25 นาที/ครั้ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ รวม 8 สัปดาห์ ประเมินการทรงตัวและความสามารถทางกายด้วย Timed Up and Go (TUG), One Leg Standing Test (OLST) และ Short Physical Performance Battery (SPPB) ก่อนและหลังการฝึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และ การทดสอบของครัสคาล-วอลลิส
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม 1 และ 2 มีความแตกต่างของเวลาที่ใช้ในการทดสอบ TUG และ OLST ก่อนและหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม ส่วนคะแนน SPPB ในกลุ่ม 1 และ 2 มีการเปลี่ยนแปลงระดับความเร็วในการเดินและความสามารถในการลุกยืนดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนฝึกซึ่งมากกว่ากลุ่ม 3 ในระหว่างการฝึกจนสิ้นสุดการฝึกไม่พบว่ามีผู้สูงอายุล้มทั้ง 3 กลุ่ม สรุปว่าการออกกำลังกายด้วยตาราง 4 ช่อง ส่งผลต่อการทรงตัวและความสามารถทางกายใกล้เคียงกับตาราง 9 ช่อง จึงสามารถใช้ตาราง 4 ช่องทดแทนตาราง 9 ช่อง ในการออกกำลังกายป้องกันการหกล้มได้
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม:
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562.
กรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. โครงการเฝ้าระวัง และพัฒนาสารสนเทศสุขภาพผู้สูงอายุ. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=6238#
กรมการแพทย์. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มสผส.); 2020. ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2020/10/edit-03122020-17.pdf
ไพลวรรณ สัทธานนท์. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2566
Zarei H, Norasteh A A, Koohboomi M. The relationship between muscle strength and range of motion in lower extremity with balance and risk of falling in elderly. PTJ 2020;10(1):33-40.
Krabuanrat C. The 9-square exercise and brain development. Bangkok: Grand Sport Group, 2007.
ศศิวิมล วรรณพงษ์, เสาวนีย์ นาคมะเริง, สุรัสวดี เบนเน็ตต์, น้อมจิตต์ นวลเนตร์. ผลของการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องต่อการทรงตัวและพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุเพศหญิง. วารสารกายภาพบำบัด สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย. 2564;43(2):67-79.
Fatmawati V, Indriani. The effect of four-square step exercise and ankle strategy exercise on improving the balance of the elderly in Aisyiyah Branch, West Palbapang, Bantul, Yogyakarta. UJAS 2022 Dec 13;2(2):53-9.
World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. [cited 20 Jun 2023]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241563536
Shumway-Cook A, Woollacott MH. Motor control: theory and practical applications. 2nd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2001.
Rozanska-Kirschke A, Kocur P, Wilk M, Dylewicz P. The Fullerton Fitness Test as an index of fitness in the elderly. Medical Rehabilitation. 2006 Jul 17;10(2):9-16
Pofane.eu.org. Manual for the fall prevention classification system Version 1 (4th April 2007) Manchester 2007 [Available from: http://www.profane.eu.org/documents/Falls Taxonomy.pdf.
Robertson MC, Devlin N, Gardner MM, Campbell AJ. Effectiveness and economic evaluation of a nurse delivered home exercise programmed to prevent falls.1: randomised controlled trial. BMJ 2001 Mar 24; 322: 697-701.
Lord SR, Castell S, Corcoran J, Dayhew J, Matters B, Shan A, Williams P. The effect of group exercise on physical functioning and falls in frail older people living in retirement villages: a randomized, controlled trial. J Am Geriatr Soc. 2003 Dec;51(12):1685-92.
Podsiadlo D, Richarolson S. The time “Up & Go”: a test of basic functional mobility for trail elderly person. J AmGeriatrSoc, 1991;39:142-8
ชุติมา ชลายนเดชะ. คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2557;26(1):5-16.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์; 2562.
Kaewkaen K. Assessment of physical performance in elderly with Short Physical Performance Battery Test. J Med Health Sci. 2019 Aug;26(2):96-111.
Mijnarends DM, Meijers JM, Halfens RJ, ter Borg S, Luiking YC, Verlaan S, et al. Validity and reliability of tools to measure muscle mass, strength, and physical performance in community dwelling older people: a systematic review. J Am Med Dir Assoc 2013;14: 170-8.
Freiberger E, de Vreede P, Schoene D, Rydwik E, Mueller V, Frändin K, et al. Performance-based physical function in older community-dwelling persons: a systematic review of instruments. Age Ageing 2012;41:712-21.
Soares Menezes KVR, Auger C, de Souza Menezes WR, Guerra RO. Instruments to evaluate mobility capacity of older adults during hospitalization: A systematic review. Arch Gerontol Geriatr 2017;72:67-79.
Bohannon RW. Single limb stance times: a descriptive meta-analysis of data from individuals at least 60 years of age. PhysTher, 2006;22:70-7.
Gulsatitporn S. Physiotherapy in elderly. 2nd ed. Bangkok: Offset Press; 2006.
Giorgetti MM, Harris BA, Jette A. Reliability of clinical balance outcome measures in the elderly. Physiother Res Int. 1998;3(4):274-83.
ฉัตรสุดา ศรีบุรี, ปารวี มุสิกรัตน์, ปฏิมา ศิลสุภดล, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล. ผลของการฝึกเดินถอยหลังและเดินไปข้างหน้าต่อการทรงตัว ตัวแปรด้านระยะทางและเวลาของการเดิน และความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารกายภาพบำบัด สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย. 2565;44(1):12-28.
Wang YH, Liu YH, Yang YR, Wang RY. Effects of square-stepping exercise on motor and cognitive function in older adults - A systematic review and meta-analysis. Geriatr Nurs. 2021 Nov-Dec;42(6):1583-1593.
Nokham R, Kitisri C. Effect of square-stepping exercise on balance in older adults: A systematic review and meta-analysis. J Phys Fitness Sports Med. 2017;6(3):183-190.
Benavent-Caballer P, Sendín-Magdalena A, Francisco Lisón J, Rosado-Calatayud P, Amer-Cuenca JJ, Salvador-Coloma P, et al. Physical factors underlying the Timed “Up and Go” test in older adults. Geriatr Nurs. 2016 Mar-Apr;37(2):122-7.
เขมภัค เจริญสุขศิริ, นุศราพร แซ่ลิ้ม, หรรษกร สาระพันธุ์, ธัญญาลักษณ์พรมสุข. ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางกับการฝึกการทรงตัวที่มีต่อการทรงตัวและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;12(2):98-107.
Buchner DM, Cress ME, de Lateur BJ, Esselman PC, Margherita AJ, Price R, et al. A comparison of the effects of three types of endurance training on balance and other fall risk factors in older adults. Aging (Milano). 1997 Feb-Apr;9(1-2):112-9.
น้อมจิตต์ นวลเนตร์, ชนาดา อรศรี, ณัฐนรี ชัยพิพัฒน์. การเปรียบเทียบการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่องกับการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัวแบบดั้งเดิมต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง. วารสารกายภาพบำบัด สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย. 2559;38(3):93-102.
Perera S, Mody HS, Woodman RC, Studenski SA. Meaningful Change and Responsiveness in Common Physical Performance Measures in Older Adults. J AGS [Internet]. 2006 May;54(5):743-9.
Ng CACM, Fairhall N, Wallbank G, Tiedemann A, Michaleff ZA, Sherrington C. Exercise for falls prevention in community-dwelling older adults: trial and participant characteristics, interventions and bias in clinical trials from a systematic review. BMJ Open Sport Exerc Med. 2019 Dec 16;5(1):e000663.
ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. รายงานฉบับสมบูรณ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hitap.net/documents/24277
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.