การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • กันทิมา ชูฉัตร กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

การติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, อัตราการติดเชื้อ, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย และเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเปราะบาง ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากกว่าติดเชื้อมาจากชุมชน เมื่อมีการติดเชื้อจะทำให้การรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือด และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลสมุทรปราการระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 250 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมาน โดยใช้สถิติ Chi-square

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 250 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.8 อายุเฉลี่ย 65.92 ± 14.87 ปี และมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 18.68 วัน ผลวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับร้อยละ 31.2 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่อายุ [OR 0.81 (95% Cl 0.65-1.20, p-value=0.003)] การดื่มสุรา [OR 1.29 (95% Cl 1.16-1.43, p-value<0.001)] โรคความดันโลหิตสูง [OR 0.19 (95% Cl 0.10-0.33, p-value=0.000)] ภาวะไขมันในเลือดสูง [OR 0.30 (95% Cl 0.14-0.62, p-value=0.001)] ภาวะหัวใจห้องบนพลิ้ว [OR 0.23 (95% Cl 0.78-0.67, p-value=0.004)] ภาวะทุพโภชนาการ [OR 4.52 (95% Cl 1.96-10.40, p-value=0.000)] และการใส่ท่อช่วยหายใจ [OR 0.35 (95% Cl 0.18-0.67, p-value=0.001)]

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ; 2560.

Feigin VL, Brainin M, Norrving B, Martins S, Sacco RL, Hacke W, Fisher M, Pandian J, Lindsay P. World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2022 [published correction appears. Int J Stroke. 2022;17(1):18-29.

นงพิมล นิมิตรอานันท์, ศศิธร รุจนเวช, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงทาง สุขภาพโรค หลอดเลือดสมองตามมิติวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ: กรณีศึกษาชุมชนหนึ่งในจังหวัด นครปฐม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562; 27(2):80-92.

Rochmah TN, Rahmawati IT, Dahlui M, Budiarto W, Bilqis N. Economic Burden of Stroke Disease: A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health. 2021;14(5):606–619.

กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยง กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. 2565; วันที่ 28 ตุลาคม 2565.

มงคล สุริเมือง, ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ลักษณะและผลกระทบของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลทั่วไป: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. 2565.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device: Siriraj Med J. 2016;68(3):160-170.

Wang W, Jiang B, Sun H, Ru X. et.al. Prevalence, incidence, and mortality of stroke in china: results from a nationwide population-based survey of 480687 adults. Circulation. 2017;135(8):759-771.

Colbert JF, Traystman RJ, Poisson SN, Herson PS, Ginde AA. Sex-Related Differences in the Risk of Hospital-Acquired Sepsis and Pneumonia Post Acute Ischemic Stroke. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2016;25(10):2399-404.

Liao CC, Shih CC, Yeh CC, Chang YC, Hu CJ, Lin JG, Chen TL. (2015). Impact of diabetes on stroke risk and outcomes: two nationwide retrospective cohort studies. Medicine (Baltimore). 2015; Dec; 94(52).

Bruening T, Al-Khaled M. Stroke-associated pneumonia in thrombolyzed patients: incidence and outcome. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2015;24(8):1724–1729.

Boehme AK, Ranawat P, Luna J, Kamel H, Elkind MS. Risk of acute stroke after hospitalization for sepsis: a case-crossover study. Stroke. 2017;48(3):574–580.

Arero AG, Vasheghani-Farahani A, Tigabu BM, Ayene BY, Soltani D. Long-term risk and predictors of cerebrovascular events following sepsis hospitalization: A systematic review. Front Med (Lausanne). 2022; Nov 25; 9.

Ruangchaithaweesuk K, Watcharanurak P, Klubklay A. Factors influencing preventive behavior among stoke-risk patients in Songkhla province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2021;4(1):217-233.

Wastfelt M, Cao Y, Ström JO. Predictors of post-stroke fever and infections: a systematic review and meta-analysis. MC Neurol. 2018;18(1):49.

Chipp E, Milner CS, Blackburn AV. Sepsis in burns :A Review of current practice and future therapies. Ann Plas Surg 2010 ;65(2):228-36.

Pham TN, Kramer CB, Klein MB. Risk factors for the development of pneumonia in older adults with burn injury. J Burn Care Res 2010;31(1):105–10.

Castillo LL, Sumalapao DEP, Pascual JLR. Risk factors for pneumonia in acute stroke patients admitted to the Emergency Department of a Tertiary Government Hospital. Natl J physiol Pharm Pharmacol 2017;7(8):855-9.

Yeh SJ, Huang KY, Wang TG, Chen YC, et.al. Dysphagia screening decreases pneumonia in acute stroke patients admitted to the stroke intensive care unit. J Neurol Sci. 2011;306(1-2):38-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

1.
ชูฉัตร ก. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 7 เมษายน 2025];2(1):47-59. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/2582