การกระจายตัวของยีนที่ดื้อต่อยา Vancomycin ในเชื้อ Enterococci ที่เพาะแยกได้ จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
VRE, Enterococci, Vancomycin Resistanceบทคัดย่อ
การดื้อยาต้านจุลชีพส่งผลกระทบต่อคน สัตว์ อาหาร สิ่งแวดล้อม เป็นวิกฤติร่วมของทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทย พบว่าเชื้อ Enterococci เป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญหรือพบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาลเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล เชื้อ Vancomycin Resistance Enterococci (VRE) ถูกจัดเป็นเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นเชื้อที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อ คน สัตว์ อาหารและสิ่งแวดล้อม การติดตามแนวโน้มการดื้อยาของเชื้อก่อโรคมีความสำคัญในด้านการรักษาและการป้องกัน รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการวางมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
การศึกษานี้เป็นการสำรวจหาการกระจายตัวของยีนที่ดื้อต่อยา Vancomycin ในเชื้อ Enterococci ที่เพาะแยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งพบว่าเชื้อ Enterococci ที่เพาะแยกได้จากสิ่งส่งตรวจสูงที่สุดโดยเฉลี่ยคือ Enterococcus faecalis ร้อยละ 61.5 รองลงมาคือ Enterococcus faecium และ Other-Enterococci โดยคิดเป็นร้อยละ 33.9 และ 4.6 ตามลำดับ แต่พบว่าเชื้อ Enterococci ที่เป็น VRE สูงที่สุดเป็น Enterococcus faecium รองลงมาเป็น Enterococcus faecalis โดยคิดเป็นร้อยละ 5.3 และ 0.1 ตามลำดับ เชื้อ VRE ที่เก็บรวบรวมในช่วงเดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวน 48 สายพันธุ์และทั้งหมดพบเป็นเชื้อ Enterococcus faecium ทุกสายพันธุ์มียีน vanA ร้อยละ 100 และมีค่า Minimal Inhibitory Concentration (MIC) ของยา Vancomycin > 256 µg/ml. พบว่าเชื้อมีความไวต่อยา Teicoplanin ร้อยละ 62 นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อ VRE มีความไวต่อยา Linezolid, Daptomycin และ Tetracycline ร้อยละ 100, 94 และ 82 ตามลำดับ
References
คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570
วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล.โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. 2558
National Antimicrobial Resistance Surveillance center, Thailand. แนวทางการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวประเทศไทย. 2566
Said MS, Tirthani E, Lesho E. Enterococcus Infections [Internet]. 2023. [cited 2023 Apr 10]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK567759
สมศักดิ์ ราหุล, อนุศักดิ์ เกิดสิน. การวินิจฉัยแบคทีเรียก่อโรคกลุ่มต่างๆและเชื้อราที่พบบ่อย. ใน: มาลัย วรจิตร, วันทนา ปวีณกิตติพร, สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, สุรางค์ เดชศิริเลิศ, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติงานแบคทีเรียและรา สำหรับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น จำกัด; 2561.น. 101-12.
Parlak H, Tan H. Pancytopenia due to linezolid treatment. Turk Pediatri Ars 2015; 50:185-8.
McConnella A, Baerg K. Peripheral neuropathy from use of linezolid and metronidazole in a pediatric patient. IDCases 2021; 25: e01210.
Mao Y, Dai D, Jin H, Wang Y. The risk factors of linezolid-induced lactic acidosis. Medicine 2018;97:36 (e12114).
Molton JS, Tambyah PA, Ang BS, Ling ML, Fisher DA. The global spread of health care associated multidrug-resistant bacteria: a perspective from Asia. Clin Infect Dis 2013 May;56(9):1310-8.
ศูนย์ระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (NARST) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถานการณเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปี 2000-2022 (12M) [Internet].2023 [cited 2023 Apr 10]. Available from: http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR%202000-2022-12M.pdf
Centers for Disease Control and Prevention. Vancomycin-resistant Enterococci (VRE) Basics [Internet]. Jan 22, 2024 [cited 2024 Apr 12]. Available from: https://www.cdc.gov/vre/about/CDC_AAref_Val=https://www.cdc.gov/hai/organisms/vre/vre.html
Kampmeier S, Tönnies H, Correa-Martinez CL, Mellmann A, Schwierzeck V. A nosocomial cluster of vancomycin resistant enterococci among COVID-19 patients in an intensive care unit. Antimicrob Resist Infect Control 2020;9:154.
Asgin N, Otlu B. Antibiotic Resistance and Molecular Epidemiology of Vancomycin-Resistant Enterococci in a Tertiary Care Hospital in Turkey. Infect Drug Resist 2021; 191-198, DOI: 10.2147/IDR.S191881.
หัสญา ตันติพงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหรือตรวจพบเชื้อเอนเทอโรคอคซัยที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซินในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรี.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2563; 45(2):95-106
Zhou W, Zhou H, Sun Y, Gao S, Zhang Y, Cao X, et al. Characterization of clinical enterococci isolates, focusing on the vancomycin-resistant enterococci in a tertiary hospital in China: based on the data from 2013 to 2018. BMC Infect Dis 2020;20:356
Bocanegra-Ibarias P, Flores-Trevino S, Camacho-Ortiz A, Morfin-Otero R, Villarreal-Trevino L, Llaca-Díaz J, et al. Phenotypic and genotypic characterization of vancomycin-resistant Enterococcus faecium clinical isolates from two hospitals in Mexico: First detection of vanB phenotype-vanA genotype. Enferm Infecc Microbiol Clin 2016;34(7):415–21.
Khairy RM, Mahmoud MS, Esmail MAM, Gamil AN. First detection of vanB phenotype-vanA genotype vancomycin-resistant enterococci in Egypt. J Infect Dev Ctries 2019;13(9):837-842. doi:10.3855/jidc.10472
Yan MY, He YH, Ruan GJ, Xue F, Zheng B, Lv Y. The prevalence and molecular epidemiology of vancomycin-resistant Enterococcus (VRE) carriage in patients admitted to intensive care units in Beijing, China. J Microbiol Immunol Infect 2023; 56:351-7.
National Drug Information. บัญชียาหลัก และหลักฐานเชิงประจักษ์ [Internet]. 2019 [cited 2024 Sep 4]. Available from: https://ndi.fda.moph.go.th/drug_national
ทองพูล มหาพรม, อรพรรณ สุภายอง, ดุจฤดี ชินวงศ์, สุระรอง ชินวงศ์. สถานการณ์การโฆษณายาทางสื่อวิทยุในอำเภอชนบทของจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;11(4):840-9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.