การวิจัยเชิงกรณีศึกษา โรคหายาก เปรียบเทียบ 2 ราย: ถุงน้ำปากท่อปัสสาวะในเด็ก จำเป็นต้องผ่าตัดออกหรือไม่

ผู้แต่ง

  • วิศา อเนกมุจลินท์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ถุงน้ำปากท่อปัสสาวะ, ผ่าตัดถุงน้ำออก, ศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็ก, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

โรคถุงน้ำปากท่อปัสสาวะเป็นโรคหายากมักพบในเด็ก ผู้ป่วยร้อยละ 20 แสดงอาการรบกวนการปัสสาวะ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากถุงน้ำ ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน การวิจัยเชิงกรณีศึกษาเพื่อค้นหานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติการดำเนินโรค เพื่อให้ได้แนวทางการรักษาผู้ป่วย โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคถุงน้ำปากท่อปัสสาวะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 2 ราย โดยใช้รายงานกรณีศึกษาจากต่างประเทศอ้างอิงเปรียบเทียบ

จากรายงานกรณีศึกษาจากต่างประเทศ พบว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการและขนาดถุงน้ำน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ร้อยละ 6 - 25 ของผู้ป่วย มีแนวโน้มถุงน้ำยุบหายไปได้เอง ที่ระยะเวลาเฉลี่ย 5.5 - 24 เดือน จึงแนะนำติดตามการรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย 24 เดือน หากถุงน้ำไม่ยุบหายไปควรทำการรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับในกลุ่มที่มีอาการและถุงน้ำขนาด 5 มิลลิเมตรขึ้นไป แนะนำรักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำออก แต่ในการศึกษานี้ ผู้ป่วยรายแรก ถึงแม้จะมีอาการลำปัสสาวะผิดปกติและถุงน้ำมีขนาด 1 เซนติเมตร เมื่อติดตามนาน 18 เดือน พบว่าถุงน้ำยุบหายไปได้เอง จึงไม่ได้รับการผ่าตัด ซึ่งผลที่ได้แตกต่างจากกรณีศึกษาจากต่างประเทศ ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ไม่มีอาการ ถุงน้ำมีขนาด 1 เซนติเมตร หลังติดตามนาน 5 ปี ถุงน้ำไม่ยุบหายไป สอดคล้องกับข้อมูลรายงานก่อนหน้านี้ว่าเข้าข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด รักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำออก ติดตามการรักษาหลังผ่าตัด 2 เดือน ไม่พบมีภาวะแทรกซ้อนการเกิดถุงน้ำซ้ำ หรือปากท่อปัสสาวะตีบ ดังนั้น ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แม้ขนาดถุงน้ำมากกว่า 5 มิลลิเมตร แนะนำเริ่มต้นการรักษาจากการสังเกตอาการก่อนได้ หากไม่ยุบหายไปหลัง 24 เดือน จึงควรรักษาโดยการผ่าตัดถุงน้ำออก

References

Maliki A, Djatisoesanto W, Hoetama S, Santoso AD. Parameatal urethral cyst: A case series of three rare cases and literature review. Int J Surg Case Rep. 2023;107(108341):19.

Akhmetov D, Zhanbyrbekuly U, Nurberdiyev A, Baskakov V, Khairli G, Suleiman M. Parameatal cyst: A presentation of a rare case and literature review. J CLIN MED KAZ. 2023;20(1):65-7.

Shibayama T, Nakashima J, Nakamura S, Morinaga S. A case of parameatal urethral cyst with calculi. Hinyokika Kiyo. 1993;39(10):961-3.

S L, Ankur A. Parameatal cyst: a presentation of rare case and review of literature. J Clin Diagn Res. 2013;7(8):1757-8.

Song SH, Kim DS. Neonate with a parameatal urethral cyst: AME Case Rep. 2019 May 27;3:16. doi: 10.21037/acr.2019.05.06. eCollection 2019.

Shiraki IW. Parametal cysts of the glans penis: a report of 9 cases. J Urol. 1975;114(4):544-8.

Matsuyama S, Matsui F, Yazawa K, Matsumoto F, Shimada K, Matsuoka K. Long-term Follow-up of Median Raphe Cysts and Parameatal Urethral Cysts in Male Children. Urology. 2017;101:99-103.

Sinha RK, Mukherjee S, Mitra N, Saha B, Kumar J. Parameatal Cyst : A report of Two Cases and Review of Literature: Malays J Med Sci. 2015 Nov;22(6):71-3.

Tanaka K, Nakazawa-Tanaka N, Urao M. Do Parameatal Urethral Cysts in Children Need Surgical Excision? Urology. 2022;167:198-200.

Halder P, Mandal KC, Kumar R, Mukhopadhyay M. Parameatal cyst: A report of five cases. IJPD. 2017;18(3).

Cha WH, Jang TJ, Ha JY. Parameatal Urethral Cyst in Adult: Should be Excised. Keimyung Med J. 2023;42(1):62-5.

Nale D, Babic U, Nale P, Stankovic B, Eric L, Dimitrijevic J. Median Raphe (Parameatal) Cyst of the Penis as Reversible Cause of Loss of Self-Esteem and Impaired Sexual Behaviour. Arch Surg Clin Case Rep 2023;6(1).

Oka M, Nakashima K, Sakoda R. Congenital parameatal urethral cyst in the male. Br J Urol. 1978;50(5):340-1.

Koga S, Arakaki Y, Matsuoka M, Ohyama C. Parameatal urethral cysts of the glans penis. Br J Urol. 1990;65(1):101-3.

Lantin PM, Thompson IM. Parameatal cysts of the glans penis. J Urol. 1956;76(6):753-5.

Otsuka T, Ueda Y, Terauchi M, Kinoshita Y. Median raphe (parameatal) cysts of the penis. J Urol. 1998;159(6):1918-20.

Willis HL, Snow BW, Cartwright PC, Wallis MC, Oottamasathien S, deVries C. Parameatal urethral cysts in prepubertal males. J Urol. 2011;185(3):1042-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
อเนกมุจลินท์ ว. การวิจัยเชิงกรณีศึกษา โรคหายาก เปรียบเทียบ 2 ราย: ถุงน้ำปากท่อปัสสาวะในเด็ก จำเป็นต้องผ่าตัดออกหรือไม่. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];2(2):97-110. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/3175