คุณภาพการบริการผู้ป่วยนอกตามการรับรู้ของผู้รับบริการโรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ประวีณา อนุกูลพิพัฒน์ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • กัลยา บุญสนอง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • กุลธิดา สัมมาวงศ์ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • ระวี แช่มชื่น งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ
  • สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

แผนกผู้ป่วยนอก, คุณภาพบริการ, การรับรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณภาพการบริการผู้ป่วยนอกตามการรับรู้ของผู้รับบริการโรงพยาบาลสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก 7 หน่วยบริการได้แก่ 1) อายุรกรรม 2) ศัลยกรรม 3) ศัลยกรร มกระดูก 4) นรีเวช 5) ฝากครรภ์ 6) จักษุ 7) ตรวจโรคทั่วไป จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 428 คน เลือกโดยการแบ่งสัดส่วน (proportional to size) ของผู้ป่วยที่มารับบริการหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกจำนวน 7 หน่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และ คุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้ป่วยทั้งหมด 7 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยข้อมูลทั่วไปนำมาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์คุณภาพบริการตามการรับรู้ทั้ง 7 ด้านของผู้ใช้บริการ โดยใช้สถิติ t-tests, ANOVA และจำแนกตามหน่วยบริการโดยใช้สถิติ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการผู้ป่วยนอกตามการรับรู้ของผู้รับบริการโรงพยาบาลสมุทรปราการมีค่าเฉลี่ย 3.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 และหน่วยบริการผู้ป่วยนอกตรวจโรคทั่วไปมีคะแนนค่าเฉลี่ยของคุณภาพบริการต่ำที่สุดเท่ากับ 3.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.82 2) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลสมุทรปราการจำแนกตามอายุและสิทธิการรักษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการระหว่างหน่วยบริการผู้ป่วยนอกตรวจโรคทั่วไปมีความแตกต่างกับหน่วยบริการผู้ป่วยนอกนรีเวชกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกนั้นคุณภาพการบริการระหว่างหน่วยบริการผู้ป่วยนอกอื่นๆไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. J Retail. 1990;64(1):12-40.

ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสมุทรปราการ, 2562.

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. A Conceptual Model of Service Quality and its Implications for Future Research. J Mark. 1985;49:41-50.

Berry LL, Zeithaml VA, Parasuraman A. Five imperatives for improving service quality. Sloan Manag Rev. 1990;31(4):29-38.

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

ณัฐฐา เสวกวิหารี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

วิภาวี ชาดิษฐ์. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพบริการแผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรึ. [ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

1.
อนุกูลพิพัฒน์ ป, บุญสนอง ก, สัมมาวงศ์ ก, แช่มชื่น ร, ปิงสุทธิวงศ์ ส. คุณภาพการบริการผู้ป่วยนอกตามการรับรู้ของผู้รับบริการโรงพยาบาลสมุทรปราการ. SMPK. Hos. J. [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 10 เมษายน 2025];1(1):58-69. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/smpkhj/article/view/504