การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อส่งเสริมการสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กฤษนารี แย้มเพ็ง อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • สุปราณี แตงวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ทิพา ต่อสกุลแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การบริการวิชาการแก่สังคม, การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม, การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม

บทคัดย่อ

ด้วยประชากรสูงอายุในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น  การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้คงความเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจึงมีความจำเป็น  จากการประชุมสมัชชาระดับโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้ประกาศแนวคิด “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม”  เป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  รวมถึงประเทศไทยซึ่งกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ  โดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ  ภาคเอกชน และประชาชน

               คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยคริสเตียน  เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์  ซึ่งมีรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ  คณาจารย์ในสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จำเป็นต้องปฏิบัติพันธกิจทั้ง 4 ด้าน  คือ  การเรียนการสอน  การวิจัย  การบริการวิชาการแก่สังคม  และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ดังนั้นการบริการวิชาการแก่สังคมที่คณาจารย์ในสาขาฯ สามารถทำได้คือการดูแลผู้สูงอายุด้วย  “การส่งเสริมการสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม”  ให้กับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบของมหาวิทยาลัย  จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการ  “คัดกรองโรคภัย  สำรวจกาย  สำรวจใจ  ผู้สูงวัย  สู้ภัยโควิด” ขึ้นเป็นเบื้องต้นเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลดอนยายหอม  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม และเพื่อใช้ข้อมูลในการส่งเสริมการสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมของผู้สูงอายุได้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/5/155.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. ๒๕๖๓. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/laws/th1601447155-817_0.pdf

กรมควบคุมโรค. (2566). ยึดหลัก DMHTT เพื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่. สืบค้นจาก http://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=16434&deptcode=brc.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สื่อประชาสัมพันธ์: ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.pr.moph.go.th/?url=pr/index/5/12/.

กัลยภรณ์ เชยโพธิ์. (2561). การเปรียบเทียบแบบประเมินผู้สูงอายุในชุมชนแบบครอบคลุมกับแนวปฏิบัติการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบคลอบคลุมเป็นองค์รวม. แพทย์สารทหารอากาศ, 64(3), 85-88.

ณปภช สัจนวกุล. (2564). การสูงวัยในที่เดิมอย่างมีสุขภาวะ : ข้อเสนอตัวแบบนโยบายจากบทเรียนต่างประเทศ. เอกสารประกอบการประชุมออนไลน์เวทีกลยุทธ์ “การสูงวัยในที่เดิม (Aging in Place) : ข้อเสนอนโยบายเพื่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (น.1-5). กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2565). “สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๖๔”. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทินกร วงศ์ปการันย์ และณหทัย วงศ์ปการันย์. (2563). แบบวัดความรู้สึกว้าเหว่ยูซีแอลเอ ฉบับ 20 ข้อ ปรับปรุงจาก UCLA Loneliness Scale V.3. สืบค้นจาก http://www.pakaranhome.com/index.php?lay.

พัชราภรณ์ ติ่งชุ่ม, ศากุล ช่างไม้ และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2565). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความโดดเดี่ยวและความผาสุกของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(1), 182-194.

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ และดลฤดี สุวรรณคีรี. (2565). การปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 100-114.

วัชรา ริ้วไพบูลย์. (2564). Ageing in Place: สรุปสถานการณ์ปัญหาและความท้าทาย. เอกสารประกอบการประชุมออนไลน์เวทีกลยุทธ์ “การสูงวัยในที่เดิม (Aging in place) : ข้อเสนอนโยบายเพื่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (น.1-2). กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2560). แผนมาดริดด้านผู้สูงอายุ : กรอบสหประชาชาติกับประเทศไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 16(2-3), 80-86.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แบบฟอร์ม GA (Geriatric Assessment) ปี 2564 สำหรับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป. สืบค้นจาก http://www.ssko.moph.go.th/news2/upload_file/202102041143442.pdf

สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล. (2564). มาตรฐานที่อยู่อาศัยและบริการสนับสนุนสำหรับผู้สูงอายุในบริบทสังคมไทย.เอกสารประกอบการประชุมออนไลน์เวทีกลยุทธ์ “การสูงวัยในที่เดิม (Aging in Place) : ข้อเสนอนโยบายเพื่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (น.1-3). กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับประชาชน. สืบค้นจาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/.

อิทธิพร ขำประเสริฐ. (2565). คู่มือ: แนวทางสำหรับการเขียนเอกสารโครงการของมหาวิทยาลัยคริสเตียน. กลุ่มงานแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

The National Center for Equitable Care for Elders: NCECE. (2016). Aging in place: A resource for health centers. Retrieved from https://ece.hsdm.harvard.edu/files/ece/files/aging_in_place_final.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19