การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ดังนั้น การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีระดับของความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมจะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เกิดภาวะแทรกซ้อนจนต้องได้รับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อย และอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ผู้สูงอายุที่มีระดับของความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดีด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะด้านความรู้ความเข้าใจข้อมูลทางสุขภาพ การสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ รวมถึงทักษะการตัดสินใจที่ดี ซึ่งทักษะการตัดสินใจที่ดีเกิดขึ้นจากความรู้ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพที่ผู้สูงอายุได้รับ ประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในอดีตที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จนทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 26-36.
กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ ปีพ.ศ. 2565. สืบค้นจาก htts://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.
จุฑาพร เกษมภักดีพงษ์, ศิริพร เทพสูตร และปฏิภาส สาแช. (2558). พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุขศึกษาและสื่อสารสุขภาพ, 1(1), 30-42.
นริศรา แก้วบรรจักร ประไพจิตร ชุมแวงวาปี และกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2563). ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 1-15.
นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร และเดช เกตุฉ่ำ (2554). รายงานการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ระยะที่ 1). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์
วชัราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183–197.
วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ศิรินันท์ สุขศรี และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่ง (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(4), 73-84.
ศรีสุดา บุญขยาย. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 4. สืบค้นจาก https://hpc4.anamai.moph.go.th/th/cms-of-36/download/?did=207593&id=80115&reload=
สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และปัฐยาวัชร ปราฎผล. (2565). รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความ ดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 37(1), 58-74.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปผลที่สำคัญ การงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มสถิติแรงงาน สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากร รายจังหวัด ตามช่วงอายุ. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/StatMIS/#/ReportStat/3
Berkman, N.D., Davis, T.C., Mccormack, l. (2011). Health Literacy: What is it?. Journal of Health Communication, 15, 9-19.
Chen, J. Z., Hsu, H. C., Tung, H. J., & Pan, L. Y. (2013). Effects of health literacy to self- efficacy and preventive care utilization among older adults. Geriatr Gerontol Int, 13(1), 70-76.
Dewalt, D. A., Berkman, N. D., Sheridan, S., Lohr, K. N., & Pignone, M. P. (2004). Literacy and health outcomes: a systematic review of the literature. J Gen Intern Med, 19(12), 1228-1239.
Gazmararian, J. A., Baker, D. W., Williams, M. V., Parker, R. M., Scott, T. L., Green, D. C., et al. (1999). Health literacy among medicare enrollees in a managed care organization. Journal of American Medication Association, 281(6), 545-551.
Kutner, M., Greenberg, E., Jin, Y., Boyle, B., Hsu, Y., and Dunleavy, E. (2007). Literacy in Everyday Life: Results from the 2003 National Assessment of Adult Literacy (NCES 2007–480).U.S. Department of Education. Washington, DC: National Center for Education Statistics.
Manganello, J. A. (2008). Health literacy and adolescents: A framework and agenda for future research. Health Education Research, 23(5), 840-847.
Nilnate, W. (2014). Health literacy in Thai elders in senior citizen club of Bangkok. (Doctoral). Chulalongkorn University, Bangkok.
Nutbeam, D. (2009). Defining and measuring health literacy: What can we learn from literacy studies. J Public Health, 54, 304-305.
Sudore, R. L., Mehta, K. M., Simonsick, E. M., Harris, T. B., Newman, A. B., Satterfield, S., & Yaffe, K. (2006). Limited literacy in older people and disparities in health and healthcare access. Journal of the American Geriatrics Society, 54(5), 770-776.
World Health Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, Geneva World Health Organization.
World Health Organization. (2006). WHOQOL-OLD manual. Retrieved from https://www.who.int/mental_health/evidence/WHOQOL_OLD_Manual.pdf