ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ยุคนธ์ เมืองช้าง อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • จารุวรรณ สนองญาติ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศิริธิดา ศรีพิทักษ์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • อุษณียาภรณ์ จันทร อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก, โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : ศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คน และกลุ่มควบคุม 38 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลสุขภาพตามปกติ   คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1.1) การสอนสุขศึกษา 1.2) การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและที่บ้าน 1.3) การบริการสุขภาพ 1.4) ความร่วมมือของโรงเรียนและครอบครัว และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาและค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.93 และ 0.92 ตามลำดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นเป็นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติในโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรนำโปรแกรมไปใช้ในการป้องกันไข้เลือดออกในนักเรียนกลุ่มอื่น

References

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). สรุปรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.

กลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 50 ปี 2562. DHF 50.pdf

กรมควบคุมโรค. (2558). แนวทางการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง.

กรมควบคุมโรค. (2565, 27 เมษายน). ไข้เดงกี่ (Dengue). https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2561). โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวนพิศ จักขุจันทร์, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, และธราดล เก่งการพานิช. (2564). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันไข้เลือดออกโดยประยุกต์แบบจำลองข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารควบคุมโรค, 47(3), 479-489.

ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, พยาม การดี, ศิริรัตน์ โกศัลย์วัฒน์, นวิยา กันทะมูล, และสำเริง พรหมมงคล. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของแกนนำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 207-214.

ธนัชชา นทีมหาคุณ. (2556). ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัชชา นทีมหาคุณ และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(1), 209-221. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/28620/24641.

ศิรินันท์ คำสี และญาดา เรียมริมมะดัน. (2561). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 43-54.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, และวารุณี วัชรเสรี. (2559). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชินี (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ศิริวรรณ เกาะกัณหา, อังคณา ทองโกมุท, และนิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ. (2564). ผลของโปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 142-154.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง Urban Dengue Unit Guideline. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สาธารณสุขอำเภอสองพี่น้อง. (2562). สรุปรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). จังหวัดสุพรรณบุรี จัดประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 3/2562. http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190904124744048

อดุลย์ ฉายพงษ์ และปริมล อ่อนมะเสน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กวัยเรียน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารควบคุมโรค, 46(2), 152-161.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15