ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อ ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร ไข่หิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์ติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง 66 คน เป็นกลุ่มทดลอง 33 คน ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของกิบสัน กลุ่มควบคุม 33 คน ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แผนการเสริมสร้างพลังอำนาจ แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อฯ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา .97 ค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค .83 และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อฯ  ตรวจสอบความตรงกันของการวินิจฉัยการติดเชื้อได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และค่าที

ผลการวิจัย: หลังการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อฯ มากกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .000) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.000) และพบการติดเชื้อในกลุ่มควบคุม 2 ครั้ง อัตราการติดเชื้อ 0.18 ครั้ง/ราย/ปี

สรุปและข้อเสนอแนะ: การเสริมสร้างพลังอำนาจช่วยให้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อที่ถูกต้องมากขึ้น ส่งผลให้อุบัติการณ์การติดเชื้อลดลง จึงควรนำการเสริมสร้างพลังอำนาจไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดทักษะในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง

References

ทัศนา นิลพัฒน์. (2558). ผลลัพธ์ของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง โรงพยาบาลสุราษฎร์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(4), 557-569.

แพรวพรรณ โกสินทร, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และนงเยาว์ เกษตรภิบาล. (2558). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. พยาบาลสาร, 42(พิเศษ), 1-12.

รุจิราพร ป้องเกิด และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2559). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 165-182.

โรงพยาบาลโพนทอง. (2565). รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อ. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ.

โรงพยาบาลอาจสามารถ. (2565). รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อ. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ.

วาสนา สวนพุฒ. (2564). ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 29 (1), 91-100.

สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 ปรับปรุงครั้งที่ 1 2563. https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2021/10/-2561.pdf

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). Thailand Renal Replacement Therapy: Years 2020. https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2552). คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องในชุมชน. http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/kidney/knowlage/manual3.pdf

สำราณ พลเตชา, สุนันท์ นกทอง, และวัลลภา ช่างเจรจา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในเยื่อบุช่อง ท้องในผู้ป่วยล้างไตในช่องท้องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 1(3), 3-10.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2553). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). คลังนานาวิทยาคม.

Anderson, M., Elam, G., Solarin, I., Gerver, S., Fenton, K., & Easterbrook, P. (2009). Coping with HIV: caribbean people in the United Kingdom. Qualitative Health Research, 19(8), 1060-1075. https://doi.org/10.1177/1049732309341191

Baumgart A., Manera K. E., Johnson, D. W., Craig, J. C., Shen, J. I., Wang, A. Y-M., Yip, T., Fung, S. KS., Tong, M., Lee, A., Cho, Y., Viecelli, A. K., Sautenet, B., Teixeira-Pinto, A., Brown, E. A., Brunier, G., Dong, J., Scholes-Robertson, N., Dunning, T., … Tong, A. (2020). Meaning of empowerment in peritoneal dialysis: Focus groups with patients and caregivers. Nephrology Dialysis Transplant Journal, 35(11), 1949-1958. doi:10.1093/ndt/gfaa127

DeVillis, R. F. (2012). Scale development: Theory and application (2rd ed.). CA: Sage.

Dong, J., & Chen , Y. (2010). Impact of the bag exchange procedure on risk of peritonitis. Peritoneal Dialysis International. 30(4), 440-447. doi: 10.3747/pdi.2009.00117

Ghali, J. R., Bannister, K. M., Brown, F. G., Rosman, J. B., Wiggins, K. J., Johnson, D. W., & Mcdonald, S.P. (2011). Microbiology and outcomes of peritonitis in Australian peritoneal dialysis patients. Peritoneal Dialysis International, 31(6), 651-662. doi:10.3747/pdi.2010.00131

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21, 1201-1210. doi: 10.1046/j.1365-2648.1995.21061201.x

International Society Peritoneal Dialysis. (2005). Peritoneal dialysis-related infections recommendation: 2005 update. Peritoneal Dialysis International, 25, 107-131.

Khairullah, Q., Provenzano, R., Tayeb, J., Anmad, A., Balakrishnan, R., & Morrison, L. (2002). Comparison of vancomycin versus cefazolin as initial therapy for peritonitis in peritoneal dialysis patients. Peritoneal Dialysis International. 22, 339-344.

Kofteridis, D. P., Valachis, A. Perakis, K., Maraki, S., Daphnis, E., & Samonis, G. (2010). Peritoneal dialysis-associated peritonitis: Clinical features and predictors of outcome. International Journal of Infectious Diseases, 14(6), 489-493. doi: 10.1016/j.ijid.2009.07.016

Kokubu M, Matsui M, Uemura T, Morimoto K, Eriguchi M, Samejima K, et al. (2020). Relationship between initial peritoneal dialysis modality and risk of peritonitis. Scientific Reports, 10(1), 1-6. doi:10.1038/s41598-020-75918-5

Mawar, S., Gupta, S., & Mahajan, S. (2011). Non-compliance to the continuous ambulatory peritoneal dialysis procedure increases the risk of peritonitis. International Urology and Nephrology. 44, 1243-1249.

Moattari, M., Ebrahimi, M., Sharfi, N., & Rouzbeh, J. (2012). The effect of empowerment on the self-efficacy, quality of life and clinical and laboratory indicators of patients treated with hemodialysis: A randomized controlled trial. Health and Quality of Life Outcomes. 10, 1-10. doi:10.1186/1477-7525-10-115

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research Principles and Methods (6th ed.). Lippincot.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28