การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิตยา สินธุ์ภูมิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • วาสนา สุระภักดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี อาจารย์ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต, พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง, ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต  2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต และ 3) นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้และประเมินผล

รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย :  ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต และ 3) นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย แฟ้มประวัติผู้ป่วย บุคลากรทีมสุขภาพ และผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสุขภาพจิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึก การสนทนากลุ่มและใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและวิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนากลุ่มที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) การเข้าใจยอมรับการเจ็บป่วยและการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 2) การประเมินผู้ป่วย 3) การรักษาและการพยาบาล 4) การส่งต่อผู้ป่วย 5) การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล และ 6) การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ผู้ป่วยมีระดับพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงลดลง การส่งต่อลดลงร้อยละ 20.00  ผู้ป่วยและบุคลากรปลอดภัย ไม่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน นอกจากนั้นบุคลากร และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสุขภาพจิตมีความพึงพอใจ

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental Illness with High Risk to Violence) สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565 (Annual Report 2022). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ก่อกาล ศิริวัฒโณ, วนีกาญจน์ คงสุวรรณ, และถนอมศรี อินทนนท์. (2560). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 26-36.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2565). นโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิตประจำปีงบประมาณ 2566. https://mhso.dmh.go.th/page/subject_details.php?

ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, และอนุรัตน์ สมตน. (2561). การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบบูรณาการในพื้นที่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(ฉบับเพิ่มเติม 2), S157-S171.

นภัสสรณ์ รังสิเวโรจน์ม, ภัทราภรณ์ ภทรสกุล, อรัญญา แพจุ้ย, อมรรัตน์ ชัยนนถี, และนัชชารินทร์ ช่ำชองกิจ. (2565). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเขิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากแอมเฟตามีน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(2), 181-203.

บัวลอย แสนละมุล และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(3), 276-284.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ณรงค์ชัย วงค์วาร และอัญชุลี เนื่องอุตม์. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) นนทบุรี.

โรงพยาบาลอาจสามารถ. (2566). รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลอาจสามารถ. โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด.

วิวรรธน์ วงศ์ตาขี่. (2560). การพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 4(2), 50-68.

ศิริรัตน์ นิตยวัน. (2553). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสาหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:112823

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, นาฎลดา นำภา, ธีรภา ธานี, และสุภาพร จันทร์สาม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวช สำหรับบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(3),207-219.

Bemelmans, T. M. A. (1979). Strategic planning for research and development. Long Range Planning, 12(2), 33-44.

Stevenson, K. N. (2014). Registered nurses’ experiences of patient violence on acute care psychiatric inpatient units. McMaster University Hamilton, Ontario.

Yudofsky, S, Silver, J .M. & Jackson, W. (1998). The overt aggression scale for the objective rating of verbal and physical aggression. American Journal of Psychiatry, 143(3), 35-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06