การปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของพยาบาลในโรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ดวงแข สุขศิลป์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • สลักจิต สุวรรณสาคร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

พยาบาล, การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, หลอดเลือดดำส่วนปลาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาการปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของพยาบาลโรงพยาบาลสมุทรสาคร  และศึกษาความสัมพันธ์ของระยะเวลาการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของพยาบาลโรงพยาบาลสมุทรสาคร

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี อายุ 20-30 ปี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29 ปี  มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ น้อยกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 48 การปฏิบัติในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ  หมวดที่ปฏิบัติได้มากที่สุดคือ หมวดการเตรียมก่อนการให้สารน้ำ (ร้อยละ 92.63) รองลงมาคือหมวดการให้สารน้ำ (ร้อยละ 84.47) หมวดการดูแลผู้ป่วยขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ร้อยละ 84.48) และหมวดการเปลี่ยนสารน้ำและชุดให้สารน้ำ (ร้อยละ 79.33) ทั้งนี้มีขั้นตอนปฏิบัติบางหมวดที่ยังไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด

สรุปและข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมให้พยาบาลใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่เป็นมาตรฐานและเป็นแนวทางเดียวกัน เป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพการพยาบาล

References

กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2559). แนวปฏิบัติทางคลินิกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกัน การเกิดหลอดเลือดดําส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

กาญจนา อุดมอัษฎาพร และมยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำ จากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของ หลอดเลือดหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 36-45.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ Extravasation. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 81-95.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำจากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 37(2), 169-181.

ดวงฤทัย จันเขียว, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, และสุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2556). ผลของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ต่อการใช้ถุงมือของบุคลากรพยาบาล. Effects of Creative Problem Solving. พยาบาลสาร, 40 (ฉบับพิเศษ)1-13.

ทีปภา แจ่มกระจ่าง. (2559). การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและการให้เลือด (Intravenous fluid Administration and Blood Transfusions). ใน ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ และอรุณรัตน์ เทพนา (บ.ก.), พิมพ์ครั้งที่ 1. (น.191-215). สำนักพิมพ์ หจก. เอ็นพีเพรส.

นภสร ดวงสมสา. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน การติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(1), 64-81.

พุทธิมา สุวรรณสุนทร และอภิญญา พรหมวิกร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจล้างมือเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา: โรงพยาบาลนาหม่อมมหาราชนครศรีธรรมราช. เวชสาร, 3(1), 1-5.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, ธนพร กาวีวน, อารีย์ กุณนะ, และพัชรินทร์ เนตรสว่าง. (2557). การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารสภาการพยาบาล, 41(ฉบับพิเศษ). 71-87.

Gillian R-B., Hui X., Nicole M., Marie, C., & Claire M. R. (2019). Effectiveness of insertion and maintenance bundles in preventing peripheral intravenous catheter-related complications and bloodstream infection in hospital patients: A systematic review. Infection disease health, 24, 152-168.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining sample size for research activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Munro, B.H. (2005). Statistical methods for health care research (5thed.) (pp. 239-258). Lippincott Williams & Wilkins.

Musa, M. H., & Mahmood, M. H. (2022). Assessment of nurses knowledge and skill about intravenous fluid administration. Journal of University of Duhok, 25(2), 531-536.

O’Grady N.P., Alexander M., Burns L.A., Dellinger E.P., Garland J., Heard S.O., Lipsett P.A., Masur H. A., Mermel L.A., Pearson M.L., Raad I. I, Randolph A.G., Rupp M.E., Saint S. (2011). Guidelines for the prevention of intravascular catheter-related infections. Am J Infect Control, 39(4 Suppl 1), S1-34.

WHO. (2009). WHO Guidelines on hand hygiene in health care: First global patient safety challenge clean care is safer care. https://www.who.int/publications/ i/item/9789241597906.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15