ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่

ผู้แต่ง

  • บุษบา เนติสารยาภากร ผู้ชำนาญการพิเศษ พยาบาล 7 งานบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • บุหงา ตโนภาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • เอื้องพร เผ่าเจริญ ผู้ตรวจการพยาบาล งานบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล, พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล, การรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กร, พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล กับพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่  3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล กับการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่  และ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่  ระหว่างกลุ่มพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ พยาบาลพี่เลี้ยง และหัวหน้าหอผู้ป่วย

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)

วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ในปี พ.ศ. 2561  และปฏิบัติงานประจำต่อเนื่องระยะเวลา 1 ปี ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 153 คน  2) พยาบาลพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่  และ 3) หัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีพยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ปฏิบัติงานอยู่ร่วมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล (2) แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และ (3)  แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  สถิติ Pearson’s product moment correlation coefficient และ One-way ANOVA

ผลการวิจัย:  พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่มีทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับดี-ดีมาก (M=3.85, S.D.=0.32, M=4.34, S.D.=0.40, M=4.23, S.D.=0.48 ตามลำดับ) ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลและการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.606, p<.01 และ r=.630, p<.01 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และสมรรถนะหลักขององค์กรของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลพี่เลี้ยง และพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ (F=40.07, p<.001 และ F=19.77, p<.001 ตามลำดับ)

สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผลการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่  โดยควรส่งเสริมทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลและเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมต่อผู้ป่วยด้านการบอกความจริง รวมทั้งสมรรถนะของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานและการบริหารแผนการทำงาน  

References

กตกร ประสารวรณ์, อัจฉรียา ปทุมวัน และเรณู พุกบุญมี. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเพื่อจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด, Rama Nurs J, 24(1), 37-50.

กฤตยา แดงสุวรรณ, ชฎาพร ฟองสุวรรณ, กฤษณี กมลมาตยกุล. (2558). การสอนงานพยาบาลใหม่ ความท้าทายของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. Songklanagarind Journal of Nursing, 35(2), 35-44.

กฤติญาดา เกื้อวงศ์ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2560). ความเครียดของพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลทหารบก, 18, 158-165.

คมวัฒน์ รุ่งเรือง, ศรินยา พลสิงห์ชาญ และสมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(3), 119-127.

ดุจดาว พูลติ้ม, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และพัชราพร เกิดมงคล. (2559). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข,2(1), 1-13.

ตรัยชัชญาญ์ ไชยวุฒิขจร พิกุล นันทชัยพันธ์ และประทุม สร้อยวงค์. (2561). ทัศนคติต่อการบอกความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นมะเร็ง. พยาบาลสาร, 45(1), 1-11.

ถนอม จันทกุล, อรัญญา เชาวลิต, วันดี สุทธรังสี และช่อลดา พันธุเสนา. (2546). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลประสบการณ์ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 18(1), 16-29.

นัดดา รุ่งเดชารัตน์, สุรชาติ ณ หนองคาย และดุสิต สุจิรารัตน์. (2559). สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วชิรสารการพยาบาล, 18(2), 33-41.

นิสา ทมาภิรัต และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2560). การเป็นพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง, วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 32-40.

ปริญญา แร่ทอง และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2555). ประสบการณ์การเปลี่ยนบทบาทจากนักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 51-62.

มณี อาภานันทิกุล, วรรณภา ประไพพาพิช, สุปราณี เสนาติสัย, และพิศสมัย อรทัย. (2557). จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 5-20.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126.

ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ. (2553). พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้และประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์, สงขลา.

ศุภามณ จันทร์สกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจ กับความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 119-134.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). (2561). HA update 2018: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 19 “คุณค่า คุณภาพคุณธรรม”. นนทบุรี: บริษัทหนังสือ ดีวัน จำกัด.

สภาการพยาบาล. (2564). คู่มือส่งเสริมจริยธรรม สำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จุดทอง จำกัด.

สมใจ วินิจกุล และสุวรรณา เหรียญสุวงษ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของบัณฑิตพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(2), 113-125.

สุภาพร วรรณสันทัด, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร . (2556). บทบาทพยาบาลกับประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี, 29(1), 158-168.

อรัญญา เชาวลิต และทัศนีย์ นะแส. (2559). จริยธรรมในการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 261-270.

อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และสมใจ ศิระกมล (บรรณาธิการ). (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด.

Brasaite, I., Kaunonen,M., Martinkenas, A., and Suominen,T. (2016). Health care professionals’attitudes regarding patient safety: cross-sectional survey. BMC Res Notes, 9(177), 1-7.

Haskins, J.L.M., Phakathi, S., Grant, M. and Horwood,. C.M. (2014). Attitudes of nurses towards patient care at a rural district hospital in the kwazulunatal province of south Africa, Journal of Nursing and Midwifery, 16(1), 31-43.

Shohani, M., & Zamanzadeh, V. (2017). Nurses' attitude towards professionalization and factors influencing it. Journal of Caring Sciences, 6(4), 345-357. Retrieved from http:// library.md.chula.ac.th/docview/1984772137/B513C0D179794793PQ/1?accountid=15637

Schober, P., Boer, C., & Schwarte, A. L. (2018). Correlation coefficients: Appropriate use and interpretation. ANESTHESIA & ANALGESIA, 126(5), 1763-1768. https://doi-org.cuml1.md.chula.ac.th/10.1213/ANE.0000000000002864

Thepsaw, B., Payakkaraung, S., Sanasuttipun, W., & Srichantaranit, A. (2018). Relationship between knowledge, Attitude, Barriers, and Nurses’ behavior in pediatric palliative care. J NURS SCI, 36(2), 18-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12