การพัฒนาเครื่องชั่งน้ำหนักด้วยรถเข็นโดยใช้แบตเตอรี่สำหรับเด็กทารก ในแผนกกุมารเวช โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
เครื่องชั่งน้ำหนัก, รถเข็น, แบตเตอรี่, ทารก, แผนกกุมารเวชบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องชั่งน้ำหนักด้วยรถเข็นโดยใช้แบตเตอรี่สำหรับเด็กทารกในแผนกกุมารเวช โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
รูปแบบการวิจัย: กรณีศึกษา
วิธีดําเนินการวิจัย: การพัฒนาเครื่องชั่งน้ำหนักด้วยรถเข็นโดยใช้แบตเตอรี่สำหรับทารก ได้ประยุกต์ขั้นตอนของการประดิษฐ์อุปกรณ์ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาโครงสร้างประกอบของเครื่องชั่งแบบใหม่ และ 2) การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้โครงสร้างเครื่องชั่งเป็นอลูมิเนียมประกอบด้วย ฐานขาตั้ง ลิ้นชัก แผงกั้น ล้อเบรก และแบตเตอรี่ ทดสอบการทำงาน โดยเทียบวัดคุณสมบัติมาตรฐานด้วยลูกตุ้ม จากแผนกเครื่องมือวิศวกรรมการแพทย์ ในแผนกกุมารเวช โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
ผลการวิจัย : โครงสร้างมีฐานขาตั้ง 40x60x75, ลิ้นชัก 40x60x20, แผงกั้น, ล้อเบรค 40x60x30 ซม. และแบตเตอรี่ 12 V เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องชั่งพบว่า ผลของน้ำหนักลูกตุ้มผ่านมาตรฐานของน้ำหนัก 1, 2, และ 3 กิโลกรัม
สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาเครื่องชั่งน้ำหนักด้วยรถเข็นโดยใช้แบตเตอรี่สำหรับทารกสามารถวัดน้ำหนักทารกได้ถูกต้อง แม่นยำ นำมาใช้งานได้ในโรงพยาบาล และสถานที่อื่นๆ โดยอำนวยความสะดวก และสามารถใช้ได้ในชุมชนห่างไกลไฟฟ้าด้วยการทำงานของแบตเตอรี่
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (1 กันยายน 2563). รู้เท่าทันน้ำหนัก-ส่วนสูง โดยสำนักโภชนาการ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.nutrition.anamai.moph.go.th
วิชญ์พล พลมนตรี, อัจฉรา ลำแสง และอรวรรยา ล.วีระพรรค. (2558). เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงแบบดิจิตอล (วิจัยโครงงานสหกิจศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สุขภาวะของคนไทยในค่าเฉลี่ยความสูง. สืบค้นจาก https://thaihealth.or.th
บริษัท jpelectronic. (2563). jpelectronics catalog. สืบค้นจาก http;// jpelectronicsscale.com
บริษัท Tamada. (2563). Tamada–scale catalog. สืบค้นจาก http;// tamada-scale.com