ผลการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ และความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2

ผู้แต่ง

  • สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • วัลทณี นาคศรีสังข์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ปรียสลิล ไชยวุฒิ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • สมคิด รูปงาม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

การสะท้อนคิด, การคิดอย่างเป็นระบบ, ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด

เพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลใน

วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ก่อนและหลังการจัดเรียนการสอน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group pretest- posttest design

วิธีดำเนินการวิจัย : ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 82 คน คัดเลือกกลุ่มประชากรแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนด้วยวิธีการสะท้อนคิด และแบบบันทึกการสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินการคิดอย่างเป็นระบบ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติ Paired t-test  

ผลการวิจัย : ก่อนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิด นักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนการคิดอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับปานกลาง (m=3.37, s=0.48)  หลังการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิด พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนของการคิดอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.59, s=0.49)  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดอย่างเป็นระบบ  พบว่า  คะแนนสูงกว่าก่อนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =.00) สำหรับคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล ก่อนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิด นักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (m=3.90, s=0.33)  หลังการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับมากเช่นกัน (m=4.46, s=0.50)  เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล พบว่าคะแนนสูงกว่าก่อนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.00)

สรุปข้อเสนอแนะ : การสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิดช่วยส่งเสริมสมรรถนะให้นักศึกษามีความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ  และมีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้น ดังนั้นอาจารย์พยาบาลจึงควรนำวิธีการสอนโดยการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบและความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้เรียน 

References

กรรณิกา วิชัยเนตร. (2557). การสะท้อนคิด:การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 188-199.

งานบริหารหลักสูตรฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. (2560). รายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ประจำปีการศึกษา 2559 ตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.

เชษฐา แก้วพรหม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 12-20.

ปิยาณี ณ นคร, ดนุลดา จามจุรี, ดรุณี ชุณหะวัต และมนัส บุญประกอบ. (2559). การศึกษาแนวทางการ จัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาล. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(2), 206-221.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ : การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

ลำเจียก กำธร, จิณัฐตา ศุภศรี และ ฐาปนี อัครสุวรรณกุล. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 15-27.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแนวจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาศิลปะการสอน. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 27-34.

ศุกร์ใจ เจริญสุข, จรัสศรี เพ็ชรคง และพัทธวรรณ ชูเลิศ. (2559). ผลของการสอนที่เน้นการคิดอย่างเป็นระบบและ จิตสำนึกสาธารณะในบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(2), 61-71.

สมหญิง โควศวนนท์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และสุพรรณิการ์ ปานบางพระ. (2558). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้ กรณีศึกษา ต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาตร์, 33(3), 99-108.

สุรศักดิ์ ตรีนัย. (2557). การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง : ประสบการณ์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนิสิตพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 378-385.

อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก และยศพล เหลืองโสมนภา. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 105-115.

Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching learning methods. Oxford: Oxford Brookes University.

Sherwood G. D., Deutsch S. H. (2014). Reflective practice: Transforming education and improving outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12