สารสนเทศทางการพยาบาลในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
คำสำคัญ:
สารสนเทศทางการพยาบาล, ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน, ไทยแลนด์ 4.0บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลกตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 เป็นต้นมา ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกนั้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ถือเป็นเครื่องมือหลัก และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการบริหารจัดการระบบสุขภาพทั่วโลกให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทย การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และระบบบริการสุขภาพยุคใหม่ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศ
สารสนเทศทางการพยาบาลในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่หลากหลาย รวมทั้งโรคอุบัติใหม่ โดยพบว่า หากพยาบาลมีการจัดการภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติพยาบาลร่วมกับทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในกระบวนการดูแล โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการพยาบาลและการรักษา ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ลดความผิดพลาดและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น ในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในระยะเจ็บป่วยฉุกเฉิน
References
จงกลณี จันทรศิริ, สาลี สายทอง, และวิฑูร อักขรธีรพันธุ์. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบการดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง . รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพยาบาลภาวะบาดเจ็บและฉุกเฉิน: คุณภาพความปลอดภัย และการดูแลต่อเนื่อง. สืบค้นจาก htts://www.nur.psu.ac.th/conference8018/ file_document/file_document/10.edit_booklet_3-4%E0%B8%98%E0%B8%8461.pdf
ชมพู วิพุธานุพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพาณี สีตกะลิน. (2559). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 37-44.
ชุติกาญจน์ หฤทัย, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, และพัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลชุมชนที่ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี : สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.
ชุติกาญจน์ หฤทัย ,ศิริมา ลีละวงศ์ และขวัญนภา ขวัญสถาพรกุล. (2561). ยุทธศาสตร์การบริการพยาบาลระดับประเทศ พ.ศ. 2560-2564 .นนทบุรี : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). คุยกับ “CEO 5lab” ผู้พัฒนา “Covidtracker” แอพติดตามสถานการณ์ไวรัส ‘COVID-19’ ในไทย. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, สืบค้นจาก htts://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870644
ธีรฉัตร วังศรี. (2557). ระบบเวชระเบียนอีเล็กทรอนิกส์สำหรับดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพมหานคร.
พีระเดช สำรวมรัมย์. (2558). การพัฒนาระบบติดตามพิกัดผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง Stroke and STEMI ที่ต้องได้รับบริการจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบเคลื่อนที่. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ 2015 : วิจัยเพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก htts://www.niems.go.th/pdfviewer/index.html
พลวรรธน์ วิฑูรกลชิต. (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2560-2569). นนทบุรี : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. (2557). คู่มือการใช้งาน ITEMS Call Center 2.70 ในการรับเหตุการแพทย์ฉุกเฉินผ่านทาง Mobile Application. สืบค้นจาก htts://www.ws.niems.go.th/items_front/CallCenter.aspx
ลัคนา แซ่บู่, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2559). การพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ สาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 140-156.
วรรษา เปาอินทร์ (2560). Thailand Health 4.0 challenges and opportunities. วารสารสมาคมเวชสารสนเทศไทย, 3(1), 31-36.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก htts://www.planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์. (2563). สารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อการพัฒนาคุณภาพ ในกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ต่อยอดการพัฒนาศักยภาพพยาบาลสารสนเทศ, สืบค้นจาก https://www.don.go.th/?page_id=1432
El-Nagger, N. (2016). Evolution of nursing informatics: A key to Improving nursing practice. Research Journal of Medicine and Medical Sciences, 11(1),1-8.
El-Sappagh, S., Farman, A., El-Masri,S.,Kim, K., Ali, A., & Kwak, K.S. (2018). Mobile health technologies for diabetes mellitus: Current state and future challenges. IEEE Access. Retrieved from doi:10.1109/ACCESS.2018.2881001
Girerd, N., Seronde, MF., Coiro, S., Chouihed, T., Bilbault, P., Braun, F., Kenizou, D., Maillier, B., Nazeyrollas, P., Roul, G., Fillieux, L., Abraham, WT., Januzzi, Jr, J., Sebbag, L., Zannad ,F., Mebazaa, A., Rossignol , P. (2018). Integrative assessment of congestion in heart failure throughout the patient journey. JACC: Heart Failure, 6(4), 273-285. Retrieved from doi: 10.1016/j.jchf.2017.09.023 Epub 2017 Dec 6.
Milner, J. (2016). Nursing informatics concept analysis. College of Nursing, Augusta University. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/307922961__Nursing_Informatics_Concept_Analysis
Minjeong, H., Seongdong, L., & Hyunhyub, K . (2018). Wearable and flexible sensors for user-interactive health-monitoring devices. Journal of Materials Chemistry. B, 6, 4043-4064. Retrieved from https://doi.org/10.1039/C8TB01063C .
Rotegard, A. K., IOS Press, Skiba, D. J., Barbosa, S., & Alcázar, A. G. D. (2018). Nursing informatics 2018: ICT to improve quality and safety at the point of care. Amsterdam, Netherlands: IOS Press. Retrieved from http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=nlebk&AN=1876776&site=ehost-live
Siarri, D. (2016). Top 10 nursing informatics skills for 2016. Retrieved from https://www.linkedin.com/pulse/top-10-nursing-informatics-skills-2016-danielle-siarri-msn-rn
Techsauce-team. (2563). ThaiFightCOVID เปิดตัวแอปพิเคชั่น รับมือสถานการณ์ COVID-19. TECH & BIZ ECOSYSTEM LEADER, Retrieved from https://techsauce.co/news/thai-fight-covid-app#
The Health Informatics Society of Australia (HISA), Nursing Informatics Australia (NIA) and the Australian College of Nursing (ACN). (2017). Nursing informatics position statement. Retrieved from https://www.acn.edu.au/wp-content/uploads/ joint-position-statement-nursing-informatics-hisa-nia.pdf