ปัญหาและปัจจัยความสำเร็จต่อคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • บุญมี สังข์รักษา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสามพราน
  • ณรินี แย้มสกุล อาจารย์ประจำ สาขาการบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, บันทึกทางการพยาบาล, คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหา การบันทึกทางการพยาบาล และปัจจัยความสำเร็จต่อคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี 

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน โดยกำหนดคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 2 ปีขึ้นไป และได้รับมอบหมายให้บันทึกข้อมูลทางการพยาบาลผู้ป่วย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการบันทึกทางการพยาบาล แบบคำถามในการสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล โดยประเมินจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการระดับความรุนแรง 1-3 จำนวน 150 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย 1) การบันทึกทางการพยาบาลโดยรวม พบว่ามีการบันทึกครบถ้วนร้อยละ 78.32 การไม่บันทึก ร้อยละ 15.10 และบันทึกไม่ครบถ้วน ร้อยละ 6.58 การไม่บันทึกมากที่สุดคือ ข้อมูลการวินิจฉัยพยาบาล และข้อมูลการจำหน่ายผู้ป่วย สาเหตุส่วนใหญ่ คือการขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล และความตระหนักในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล รวมทั้งภาระงานมาก ช่วงเวลาเร่งด่วน และภาระงานด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับบริการพยาบาล 2) คะแนนคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล พบว่ามีการบันทึกครบถ้วนมากที่สุด ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ร้อยละ 98.57 ข้อมูลแรกรับทางการพยาบาล 95.67 ส่วนข้อมูลการวินิจฉัยพยาบาลมีการบันทึกครบถ้วนเพียงร้อยละ 27.42 และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการบันทึกทางการพยาบาลได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้และความเข้าใจในการบันทึกการพยาบาล ปัจจัยเอื้อด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยเสริมด้านการได้รับแรงสนับสนุนจากองค์กร มีค่าระดับคะแนนอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารทางการพยาบาล ควรพัฒนาและเสริมปัจจัยต่างๆ ทั้ง 3 ปัจจัย เช่นเสริมความรู้ มีการกำหนดคู่มือและการตรวจสอบทบทวนเรื่องการบันทึกทางการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ

References

พัชราพร ตาใจ. (2562). บันทึกทางการพยาบาล: การเขียนบันทึกที่ดีและมีคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 6(1), 60-67.

วารุณี มีเจริญ และคณะ. (2553). ปัจจัยทำนายการใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลในโรงพยาบาลสระบุรี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(3), 406-420.

วิทวดี สุวรรณศรวล, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล และบุญพัชชา จิตต์ภักดี. (2559). การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 43(3), 129-135.

ศันสนีย์ ปรีชาวงศ์. (2557). การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิสาร, 34(3), 5-17.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2554). การประกันคุณภาพการพยาบาล : การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือแนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

สิริลักษณ์ อินทร์ศร. (2557). การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

อภิวัน ชาวดง. (2558). การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อรอนงค์ วงศ์มหาชัย. (2556). การวิเคราะห์บันทึกทางการพยาบาลโดยใช้ระบบจำแนกการปฏิบัติ พยาบาลสากลแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Christine Urquhart, Rosemary Currell, Maria J Grant, and Nicholas R Hardiker. (2018). Nursing record systems: effects on nursing practice and healthcare outcomes. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6494644/pdf/CD002099

Green, L.W., Krueter, M.W. (2005). Health Promotion Planning: an Education and Ecological Approach. (4th ed). New York: McGraw-Hill Education.

Jefferies, D. at al. (2011). A ward-based writing coach program to improve the quality of

nursing documentation.Retrieved from doi:10.1016/j.nedt.2011.08.017. Epub 2011 Oct 5.

Streiner, D.L. & Norman, G.R. (1995). Health Measurement Scales: A practical guide to their development and use. (2nd ed). Oxford: Oxford University Press.

Tranter, S. (2009).A hospital wide nursing documentation project. Retrieved from http://cmu.worldcat.org/title/a-hospital-wide-nursing-documentation-project/oclc/ 470020748&referer=brief_results

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-26