การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุติดบ้าน, ผู้สูงอายุติดเตียง, การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงในชุมชนของตำบลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุติดบ้าน 5 คน และผู้ดูแล 5 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 5 คน และทีมสุขภาพของโรงพยาบาลนครปฐม 3 คน และทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 3 คน ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน แกนนำชุมชน 4 คน อสม. 5 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่มและแบบประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุติดบ้าน 5 คน อายุระหว่าง 65-86 ปี เฉลี่ย 72 ปี ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัว อายุระหว่าง 45-65 ปี เฉลี่ย 54 ปี ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 5 คน มีอายุ 68-89 ปี อายุเฉลี่ย 82 ปี ผู้ดูแลอายุ 46-62 ปี อายุเฉลี่ย 51 ปี การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลรับนโยบายและจัดสรรงบประมาณ การตัดสินใจของทีมสุขภาพโดยการเพิ่มสมรรถนะเข้ารับการอบรมเป็นผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุและเตรียมผู้ดูแล 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประกอบด้วยการคัดกรองเพื่อจัดกลุ่มในการดูแล การดูแลโดยทีมหมอครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงจากศูนย์ดูแลต่อเนื่องของโรงพยาบาลแม่ข่าย การติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงเป็นระยะ 3) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ได้แก่ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ครอบคลุม อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ปรับระบบการบริการผู้สูงอายุดีขึ้น และ 4) การมีส่วนร่วมการประเมินผล โดยทุกโครงการที่ดำเนินงานกับผู้สูงอายุต้องประเมินผลให้กับแหล่งทุน และส่วนใหญ่ในการประเมินจะต้องสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารท้องถิ่นควรประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุทุกภาคส่วนแก่ประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าถึงการบริการ นอกจากนั้นควรมีนวัตกรรมการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับทีมสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์และการสนับสนุนการดูแลในภาวะฉุกเฉิน
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้นจาก https://
www.dop.go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ: ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเอง
ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี. สำนักอนามัย: กรุงเทพมหานคร.
ข้อมูลผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม. (2561).ระบบฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (HDC). สืบค้นจาก https://
hdc.ntwo.moph.go.th/hdc/main/index.php
จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี และอรสา กงตาล. (2556). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. ใน Graduate Research Conference 2012 Khon Kaen University, (น. 658-669), ขอนแก่น, ประเทศไทย.
ธีรนันท์ วรรณศิริ. (2559). สัมพันธภาพในครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 31-50.
นิชธิมา เสรีวิชยสวัสดิ์ และพัชระกรพจน์ ศรีประสาร. (2557). บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2), 92-108.
นิมัศตูรา แว, วิชิต เรืองแป้น, วารุณี หะยีสามะสา, นิสาพร มูหะมัด, นฤมล ทองมาก. (2561). รูปแบบที่เหมาะสม
ในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ในทศวรรษหน้า. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข
และการศึกษา, 19(1), 86-96.
เพ็ญนภา มะหะหมัด. (2561). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วม
ของชุมชน ตำาบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2),
-63.
ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขต
จังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทัศน์, 10(1), 77-87.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ.
วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 135-150.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก วรรณรัตน์ จงเขตกิจ ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สำแดงสาร,
และดลปภัฏ ทรงเลิศ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสาร
เทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 231-237.
วสันต์ วิเชียร. (2559). หลักการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Buddhist Studies, 8(2), 81-93.
วิชัย เอกพลากร. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 (2557).
กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วีรพล กิตติพิบูลย์ และนิธิรัตน์ บุญตานนท์. (2563). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาวะเพื่อ ป้องกันการเข้าสู่ภาวะ พึ่งพิงของผู้สูงอายุตามแนวคิด “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 158-171.
ศุภลักษณ์ เอกอุเวชกุล, อรสา กงตาล และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2557). การพัฒนาการดูแลแบบประคับประคอง
สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน: เครือข่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลขอนแก่น.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 37(3), 84-93.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long term care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2559. สืบค้นจาก http://phn.bangkok.go.th/file_book
สำนักอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร Care manager กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เสาวลี นิจอภัย. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) ในชุมชน: กรณีศึกษา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 321-328.
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัด
ลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(3), 46-65.
Cohen, J. and Uphoff, N. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through
specificity. World Development, 8, 213-235. DOI: 10.1016/0305-750X(80)90011-X.
Lodewijckx. I. (2021). The levels of community engagement, based on the participation ladder.
Retrived from https://www.citizenlab.co/blog/civic-engagement/ladder-citizen-participation/
Silberberg. M. (Ed). (2011). Principle of community engagement. (2nd ed). NIH Publication: USA.