โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย: ภัยร้ายของประชากรวัยทำงาน
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, วัยทำงาน, ภัยต่อสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
ประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ การที่ประชากรในวัยทำงานมีสุขภาวะดี ปราศจากโรคภัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายของประชากรในวัยทำงาน ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตของประชากรเหล่านี้เปลี่ยนไป มีความรีบเร่งสูงขึ้น เกิดความเครียดสะสม รวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือรับประทานเกินความจำเป็นของร่างกาย โดยเฉพาะการรับประทานไขมันทรานส์เข้าไปเป็นจำนวนมากและเกิดการสะสมเป็นเวลานาน รวมทั้งการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือด นำมาสู่การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ซึ่งมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้สูงมาก หรือหากมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย อันจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน ดังนั้นกลุ่มประชากรวัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก ไม่ควรละเลยหรือมองข้ามภัยจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และใส่ใจในการดูแลตนเอง บทความนี้รวบรวมเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในวัยทำงาน สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและแนวทางการดูแลตนเองที่เหมาะสม เพื่อให้ทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงอันตรายของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในประชากรในวัยทำงาน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเหมาะสมต่อไป
References
กระทรวงแรงงาน. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวงแรงงานฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560- 2564). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th
กรมควบคุมโรค. (2564). แบบคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph. go.th/p/wellness.
เกศศิริ วงษ์คงคำ. (2559). การพยาบาลศัลยศาสตร์: ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://
www.thaincd.com/document/file/download/knowledge
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค . (2563). สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease
(CAD) ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://ddc.moph.go.th/uploads.files/108112019122709 1554.pdf
จรัญ สายะสถิตย์. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จันทิมา โพธิ, วิสิฐ จะวะสิต, วนัทนีย์ เกรียงสินยศ, และมยุรี ดิษยเ์มธาโรจน์. (2562). ปริมาณกรดไขมัน
ทรานส์ในอาหารและการกำกับดูแลของประเทศไทย. วารสาร โภชนาการ, 54(1). 85-93.
ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. (2558). อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต. ปทุมธานี: ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณรงค์กร ชัยวงศ์, และปณวัตร สันประโคน. (2562). ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของ พยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 14(1), 43-51.
นิศารัตน์ รวมวงษ์, อรพรรณ บุญลือ, เสาวภา เล็กวงษ์, และสุธี สุนทรชัย. (2563). ผลของโปรแกรมการ จัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(1), 128-137.
ดวงกมล วัตราดุลย์. (2558). การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ: การดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจาก โรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(1), 89-103.
พรรษมน คัฒมาตย์, จงจิต เสน่หา, และวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 62-77.
พรทิพย์ ไพศาลธรรม, สุภาภรณ์ ด้วงแพง และวัลภา คุณทรงเกียรติ. (2561). ประสบการณ์การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ อหัวใจตายเฉียบพลัน ภายหลังได้รับการใส่ขดลวดค้ำยัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 29(1), 96-109.
พัฒนาพร สุปินะและนัดดา นาวุฒิ. (2558). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ. สืบค้นจาก http:.//www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/217/%20pdf
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). หลัก 3 อ. ดีต่อใจ. สืบค้นจาก http:.//www.thaiheartfound.org/category/details/savedisease/353
รชฏ โคตรสินธุ์, สมรภพ บรรหารักษ์, ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์ , และสุทิน ชนะบุญ. (2563). การศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อและการตัดสินใจเข้ารับการรักษาเมื่อคาดว่าจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลันของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 1-18.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สหประชาพาณิชย์.
วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์. (2562). เภสัชวิทยาสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เล่ม 1. ขอนแก่น: ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศันสนีย์ ดำรงศิลป์, พรรณวดี พุธวัฒนะ, และกุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการตีบซ้ำหลังใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 18(2), 220-227.
สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์. (2564). ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว. สืบค้นจาก http:.//med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/atrial%20fibrillation.pdf
สุรพล ช่วยบุดดา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(4), 547-560.
สุมนรัตน์ นีรพัฒนกุล. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). ควรตรวจสุขภาพอย่างไรในแต่ละช่วงวัย. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/47617
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564). การใช้ยาลดไขมันในเลือดอย่างเหมาะสม. สืบค้นจาก http:.//pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=56&content_id=1516
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). วัยทำงานกับการดูแลสุขภาพ. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2558). การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เสาวนีย์ เนาวพาณิช. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตทางอายุรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
สฤษดิ์เดช เจริญไชย, อัมพร วารินทร์, ศรัญญา ปานปิ่น, และมาสริน ศุกลปักษ์. (2562). ผลของรูปแบบกิจกรรมต่อความรอบรู้ทางสุขภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดนนทบุรี. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร, 22(3), 31-41.
อารีส พลอยทรัพย์, วันเพ็ญ แก้วปาน, ปาหนัน พิชญภิญโญ, และจุฑาธิป ศีลบุตร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยทาง วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(2), 49-58.
โอบจุฬ ตราชู. (2557). โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 37(4), 229- 231.
โอภาส ศรัทธาพุทธ. (2561). สาระสำคัญทางศัลยศาสตร์หัวใจ. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Emelia J. Benjamin. (2018). TOTAL CARDIOVASCULAR DISEASES. Heart Disease and Stroke Statistics-2018 Update. Circulation. 2018; 137: e247–e269. DOI: 10.1161/CIR.00000 00000000558.
Farcy, D.A., Chiu, W.C., Marshall, J.P. & Osborn, T.M. (2017). Critical care emergency medicine. New York: McGraw-Hill Education.
Odom-Forren. (2018). Drain's perianesthesia nursing: a critical care approach. St. Louis: Elsevier.