ผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ และพฤติกรรม การดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การให้ความรู้อย่างมีแบบแผน, พฤติกรรมการดูแล, โรคธาลัสซีเมียบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดความรู้และแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์ริชาร์ดสัน-20 เท่ากับ 0.89 และสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.89 ตามลำดับ แผนการสอนและสื่อนำเสนอในโปรแกรมได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัย: ผู้ดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย หลังได้รับความรู้อย่างมีแบบแผน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียสูงกว่าก่อนได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุปและข้อเสนอแนะ โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนช่วยเพิ่มความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย จึงควรนำไปใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเน้นการพัฒนาทักษะการดูแลของผู้ดูแลและการดูแลตนเองของผู้ป่วย
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. (2561). โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียโรคทางพันธุกรรมที่น่าเป็นห่วงในประเทศ ไทย. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นจาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/116500
จุไรรัตน์ กีบาง. (2562). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมและพัฒนาความสามารถผู้ปกครองในการล้างจมูกเด็กต่อ พฤติกรรมการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจของผู้ปกครอง. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 236-244.
ธรรมนูญ เปรมใจ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และนภชา สิห์วีรธรรม. (2565). ผลของการใช้โปรแกรมการให้ข้อมูลการรักษาอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของมารดาผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2(2), 12-24.
ปทุมทิพย์ ปิ่นหย่า. (2565). ประสิทธิผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2(3), 32-47.
ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล. พบหมอเด็กจุฬาภรณ์ Season 2 EP 6 เรื่อง โรคธาลัสซีเมียเรื่องใกล้ตัวที่อาจมองข้าม. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://Youtu.be/wKiuNeTEfsA
พิมพ์กมน กิตติพงษ์วรกิจ, ปรวรรณ รอดบุญชัย และนฤมล ศิริชัย. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้โรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลเด็กป่วยในโรงพยาบาลสมุทปราการ. วารสารวิชาการโรงพยาบาลสมุทรปราการ, 1(2), 66-82.
วรวุฒิ แสงทอง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และวิจิตร แผ่นทอง. (2563). ผลของระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 39-50.
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด (2566). รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.
ศริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรัสิกุล, พจนารถ สารพัด และมณีพร ภิญโญ. (2563). รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 27-39.
สุกัญญา ฆารสิทธ์, ณัฏฐพล นนทิบุตรธีรชัย, ก้านจิต ศรีนนท์, นงค์นุช หวายแก้ว และกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2564). ประสิทธิผลของสื่อวีดีโอต่อคะแนนความรู้ของผู้ดูแลสุขภาพเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 283-294.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2554). การปรับขนาดตัวอย่างเพิ่มสำหรับการไม่ปฏิบัติตามแผนการทดลอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 20(1), 1-2.
อัจฉราพร ปิติพัฒน์, สิริณัฏฐ์ โภคพัชญ์ภูเบศ, ชลินดา คำศรีพล และสมสมร เรืองวรบูรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 34(3), 1-10.
Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. NewYork: McGrawill; 1971. อ้างใน เพชรัตน์ ศริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). ราชาวดีสารวิทยาลัย บรมราชชนนีสุรินทร์ 2561; 8(1): 48-49.
Jeesh, Y. A. A., Yousif, M. E.- hadi A., & Al-Haboub, M. A.-B. (2018). The effects of patients’ and care-givers’ knowledge, attitude, & practice (KAP) on quality of life among thalassemia major patients’ in damascus-syrian arab republic. European Scientific Journal, ESJ, 14(12), 308-335. https://doi.org/10.19044/esj.2018.v14n12p308
Khezri, H. D., Zeydi, A.E., Sharifi, & H., Jalali, H. (2016). Is Vitamin C Supplementation in Patients with β-thalassemia major beneficial or detrimental?. Hemoglobin, 40(4), 293-294.
Mark, V. (2018). Relationship of Functional Health Literacy to Patients Knowledge of Their Disease. Archives of Internal Medicine, 25(2), 166-172.
Sanctis, V. D., Kattamis, C., Canatan, D., Soliman, A. T., Elsedfy, H., Karimi, M., Daar, S., Wali, Y., Yassin, M., Soliman, N., Sobit, P., Jaouni, S.A., Kholy, M. E., Fiscina, B. & Angastiniotis, M. (2017). β-thalassemia distribution in the old world: An ancient disease seen from a historical standpoint. Mediterr J Hematol Infect Dis, 9(1), 1-14.