การเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้แต่ง

  • สุทธิลักษณ์ จันทะวัง อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ดลนภา ไชยสมบัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ, วัยก่อนสูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้

รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงพรรณนา

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อายุ 50-59 ปี จำนวน 210 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยใช้สถิติ Chi-square

ผลการวิจัย: : การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในระดับสูง (M=111.23, SD=16.35) โดยเฉพาะด้านร่างกายและจิตใจ ด้านที่อยู่อาศัย และด้านสังคม มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ การตรวจร่างกายประจำปี และการเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรม

สรุปและข้อเสนอแนะ: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ควรการส่งเสริมบุคลากรให้มีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545–2564 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561). โรงพิมพ์สามลดา.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). คู่มือการดำเนินโครงการการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2565.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2562). เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

จริยาภรณ์ กันทะวี, ทองดี คำแก้ว, พัชรา ก้อยชูสกุล, อนัญญา เหล่ารินทอง, และรวิพรรดิ พูลลาภ. (2563). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของวัยก่อนสูงอายุในเขตเทศบาลบ้านดู่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 3. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, หน้า 526 -533.

จิราวรรณ ชาลี. (2563). การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชากรในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง, กัลยรัตน์ ศรกล้า, สุรีรัตน์ สืบสันต์ และวรนาถ พรหมศวร. (2563). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 53-62.

ชัญญานุช ไพรวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), 37(1), 37-46.

ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์ และอภิรดี วงศ์ศิริ. (2565). การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารจันทรเกษมสาร, 28(1), 109-124.

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131-143.

ธนเดช สอนสะอาด, ชมภูนุช หุ่นนาค, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, และวิพร เกตุแก้ว. (2560). ความสุขในการทำงานของข้าราชการไทย. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 43-51.

นเรศักดิ์ แก้วห้วย, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์ และจุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9,16(1),172-185.

พรพิมล ทรงกิติพิศาล และชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนส่วนบุคคลในการลงทุนอาชีวศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2015.136

รัตติกาล อาชะวะบูล, เบญจยามาศ พิลายนต์ และกิตติภูมิ ภิญโญ. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนอายุระหว่าง 50-59 ปี ในชุมชนเขตเทศบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 34(1), 48-61.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2564). ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้: จำนวนบุคลากรที่จะเกษียณอายุราชการ. http://personnel.mju.ac.th/structure/stat_group.php?show=1

มรกต วงศ์อรินทร์. (2563). ภาวะหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2563, 30 มกราคม). สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. https://www.dop.go.th/th/know/3/276.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา) (พิมพ์ครั้งที่ 1). http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads//2023/06/NS_PlanOct2018.pdf

สิทธิชัย ใจขาน, สุภาณี จันทร์ศิริ, รัชนี ขุมเงิน, ธีระวัฒน์ พิมพ์ชาย และอรรถพงษ์ ฤทธิทิศ. (2565). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชน เขตตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(4), 587-597.

อุทุมพร วานิชคาม. (2562). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 25(1), 164-179.

อุไร สุทธิแย้ม. (2564). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 4(1), 111-124.

เอกสิทธิ์ โสดาดี และสุพัฒน์ อาสนะ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 10(3), 56-74.

Apouey B.H. (2018). Preparation for old age in France: The roles of preferences and expectations.J Econ Ageing, 12, 15-23.

Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). Prentice-Hall.

Chen, D., Petrie, D., Tang, K., & Wu, D. (2018). Retirement saving and mental health in China. Health Promot Int, 33(5), 801-811.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educationaland Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Little, R. J. A., & Rubin, D. B. (2002). Statistical analysis with missing data (2nd ed.). John Wiley & Sons.

Pender, N. .J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A., (2010). Health Promotion in Nursing Practice (6th ed.). Prentice Hall.

Solhi, M., Pirouzeh, R. & Zanjari, N. (2022). Middle-aged preparation for healthy aging: A qualitative study. BMC Public Health, 22(274), 1-8. https://doi.org/10.1186/s12889-022-12715-x

Solhi, M . Pirouzeh, R., Zanjari, N., & Janani, L.(2022). Dimensions of Preparation for Aging: A Systematic Review. Med J Islam Repub Iran, 36(81), 1-9. https://doi.org/10.47176/mjiri.36.81

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13