การประเมินและการบำบัดช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ สามสาลี อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ดร.ราคาล ซารา เจน ลูบาตัน อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การประเมินและช่วยเหลือ, ภาวะซึมเศร้า, การป้องกันการฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีลักษณะของอารมณ์เศร้า หดหู่ ความรู้สึก ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกตนเองไร้ค่า ตำหนิตนเอง มีความคิดทางลบต่อตนเองและผู้อื่น อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินปกติ สมาธิลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต  สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือ หรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้  สาเหตุของการเกิดภาวะนี้มาจากหลายปัจจัย ภาวะซึมเศร้ามีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ถึงรุนแรง หากมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรได้รับการช่วยเหลือและบำบัดรักษา จากทีมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่รุนแรงคือการฆ่าตัวตาย การประเมินและการบำบัดช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการประเมินจะทำให้ทราบว่ามีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับใดควรได้รับการบำบัดแบบใด การบำบัดมีทั้งบำบัดทางชีวภาพและบำบัดทางจิตสังคม ซึ่งช่วยลดความรุนแรงที่นำไปสู่ภาวะฆ่าตัวตายได้

References

กรมสุขภาพจิต กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2566). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2566. นนทบุรี .

จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์. (2563). อารมณ์เศร้า. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาคสุทธิไพศิฐ, และรัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. (2565). คุณภาพของแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ฉบับภาษาไทย ในบริบทโรงเรียน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 30(1), 38-48.

สุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. (2560). ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(4), 359-378.

อรพิน ยอดกลาง และมธุรส ทิพย์มงคลกุล. (2563). การป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Beck, A. T. & Alford, B. A. (2009). Depression: Causes and treatment (2nd ed.) University of Pennsylvania Press.

Beck, A.T. & Bredemeier, K. (2016). A Unified model of depression: Integrating clinical, cognitive, biological, and evolutionary perspectives. Clinical Psychological Science, 4(4), 596-619. https://doi.org/10.1177/2167702616628523

Boyd, M. (2012). Psychiatric nursing: contemporary practice. (5th ed.). Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Jackman-Cram, S., Dobson, K. S., & Martin, R. (2006). Marital problem-solving behavior in depression and marital distress. Journal of Abnormal Psychology, 115(2), 380-384. https://doi.org/10.1037/0021-843X.115.2.380

Keltner, N. L. & Steele, D. (2019). Psychiatric nursing. (8th ed). Elsevier. INC. 275-278.

Waltman, S., Creed, T., & Beck, A. T. (2016). Are the effects of cognitive behavior therapy for depression falling? Review and critique of the evidence. Clinical psychology: Science and Practice, 23(2), 113-122. DOI:10.1111/cpsp.12152

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18