การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • นวลจันทร์ คูสุวรรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การผ่าตัดข้อเข่าเทียม, การวิจัยและพัฒนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลดำเนินสะดวก และ 2) ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ 26 คน และผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม 20 คน ผลการวิจัยได้แนวปฏิบัติฯ 3 ระยะ 1) ก่อนผ่าตัด ในวันนัดผ่าตัดและวันนอนโรงพยาบาล เน้นการประเมินผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วย และให้ความรู้เรื่องการผ่าตัด 2) หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก เน้นการพยาบาลใกล้ชิดหลังผ่าตัด การประเมินและจัดการความปวด การประคบเย็นและเครื่องมือกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าและต้นขาและการฟื้นฟูเบื้องต้น และ 3) ก่อนและจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเน้นให้คำแนะนำป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าและต้นขาอย่างต่อเนื่องที่บ้านโดยใช้สื่อวิดิทัศน์ ติดตามผลหลังผ่าตัดทางไลน์

ผลการวิจัย: ผลการใช้แนวปฏิบัติในกลุ่มผู้ใช้ พบว่า ความเป็นไปได้ในการใช้ระดับมากที่สุดทุกระยะ  มีความชัดเจนของเนื้อหาและความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในหน่วยงานระดับมากที่สุด การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจในการใช้โดยรวมอยู่ระดับมาก ในกลุ่มผู้รับบริการ ความสามารถในการงอเข่าดีขึ้นภายหลังผ่าตัด ความสามารถการเดินในแนวราบภายในเวลา 6 นาที ดีขึ้นภายหลังผ่าตัดเช่นกัน  

สรุปและข้อเสนอแนะ: แนวปฏิบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการวิจัยติดตามผลการใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างต่อเนื่อง

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2560). รูปแบบการวิจัยเชิงนวัตกรรม (R&D, D&D, AR, R2R) โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 5. [ออนไลน์], สืบค้นจาก: https://www.ubu.ac.th/web/file_ up/ 08f2017060214303228.pdf

กีรติ เจริญชลพานิช. (2559). ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ใน กีรติ เจริญชลพานิช (บรรณาธิการ), ศัลยศาสตร์บูรณาสภาพข้อเข่าเสื่อม (320-333). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีเอลิฟวิ่ง.

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2558). Active Learning แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์], สืบค้นจาก: http://chitnarongactivelearning.blogspot.com

จิตรลดา พงศ์ธราธิก และ แก้วใจ ทัดจันทร์. (2564). ปัจจัยทำนายการฟื้นฟูสภาพและประสบการณ์การฟื้นฟู สภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(1), 54-68.

ณัชชา ตระการจันทร์, และพัศจีพร ยศพิทักษ์. (2563). การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34). 271-284.

ปาริชาต กางร่มกาง. (2557). ประสิทธิผลของการใช้ชุดการดูแลในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมหอผู้ป่วย 10 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เพ็ญศิริ ดวงผุนมาตย์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, และกีรติ เจริญชลวานิช. (2557) . พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสุขศึกษา, 37(126), 49-65.

มนทกานต์ ยอดราช, และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 63-75.

ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, และราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม. สืบค้นจาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/160610146554495425.Pdf.

รัศมี เกตุธานี, วันเพ็ญ วรามิตร, อนุชา ไทยวงษ์, และกัญญาพัชร เบ้าทอง. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความสามารถในการงอข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(1), 133-43.

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. (2563). สถิติผ่าตัด ห้องผ่าตัด. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี.

เลิศศิลป เอี่ยมพงษ์. (2560). งานพัฒนาคุณภาพนวัตกรรม “ไอแอม” เพิ่มองศาข้อเข่าหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วชิรสารการพยาบาล, 19(2), 45-51.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.

วิลาวัณย์ นาคปลัค. (2562). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการส่งเสริมการฟื้นสภาพของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

วัชรี วรากุลนุเคราะห์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, วิลาวัลย์ อาชวกุลเทพ และลักษรา บุญประคอง. (2554). ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Journal of Nursing Science, 29(3), 74-82.

สราวุฒิ สีถาน, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, ธวัชชัย อัครวิพุธ, และสุวิมล แคล่วคล่อง. (2557). ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 21-35.

สุขเกษม วัชรมัยสกุล สุภกิจ รูปขันธ์ และรัตน บริสุทธิกุล. (2561). การออกแบบและพัฒนาข้อเข่าเทียมเชิงพาณิชย์เพื่อคนไทย (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). สถิติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สืบค้นจาก www.nhso.go.th.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในการวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

อินทิรา ไพนุพงศ์ วิภา แซ่เซี้ย และเนตรนภา คู่พันธวี. (2558). โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล, 30(1), 99-110.

Aasvang, E. K., Luna, I. E., & Kehlet, H. (2015). Challenges in postdischarge function and recovery: the case of fast-track hip and knee arthroplasty. British Journal of Anaesthesia, 115(6), 861-866.

American Academy of Orthopaedic Surgeons. (2015). Surgical management of Osteoarthritis of the knee: Evident - based clinical practice guideline. Rosemont: Chicago. Retrieved from www.orthoguidelines.org

Arnold, J. B., Walters, J. L., & Ferrar, K. E. (2016). Does Physical Activity Increase After Total Hip or Knee Arthroplasty for Osteoarthritis? A Systematic Review. J Orthop Sports Phys Ther, 46(6), 431-442.

Baloch, N., Zubairi, A. J., Rashid, R. H., Hashmi, P. M., & Lakdawala, R. H. (2015). Effect of continuous passive motion on knee flexion range of motion after total knee arthroplasty. J Pak Med Assoc, 65(11 Suppl 3), 32-34.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Cram, P., Lu, X., Kates, S., L., Singh, J., A., Li, Y., & Wolf, B.R. (2012). Total knee arthroplasty Volume, utilization, and outcomes among medicare beneficiaries, 1991-2010. American Medical Association, 308(12), 1227-1236.

Felder, R. M., & Brent, R. (2009). Active Learning: An Introduction. ASQ Higher Education Brief, 2, 4-9.

Joanna Briggs Institute for Evidence Based Nursing & Midwifery. (2008). Reviewers’ manual. Retrieved from http://www.joannabriggs.edu.au

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From andragogyto pedagogy. New York: Follett.

National Health and Medical Research Council (NHMRC). (2011). Procedures and Requirements for meeting the 2011 NHMRC standard for clinical practice guidelines. Retrieved from https://www.nhmrc.gov.au/guidelines-publications/cp133-and-cp133a

Polit, D.F. & Beck, C.T. (2004). Nursing Research: Principles and Methods. (7th ed). Philadelphia: Lippincolt.

Petterson, S. C., Mizner, R. L., Stevens, J. E., Raisis, L., Bodenstab, A., Newcomb, W., & Mackler, L. S. (2009). Improved function from progressive strengthening interventions after total knee arthroplasty: A randomized clinical trial with an imbedded prospective cohort. American College of Rheumatology, 61(2), 174–183.

Qi, A., Lin, C., Zhou, A., Du, J., Jia, X., Sun, L., et al. (2015). Negative emotion affect Postoperative scores for evaluating Knee recovery and quality of life after total knee replacement. Braz J Med Bio Res, 49(1), 3-6.

Rodríguez-Merchán, E. C. (2019). Total knee arthroplasty using hinge joints: Indications and Results. EFORT open reviews, 4(4), 121-132.

Sofia de, A, Michael, A.K., Benjamin, A., Gleen, L., Sherwin, S., David, E., Hong, Z., Maria, E. S. (2015). Patient expectation about total knee arthroplasty outcome. Health Expections, 19, 299-308.

Soffin, E. M., & Yadeau. J. T. (2016). Enhanced recovery Surgery of primary hip and knee arthroplasty. British Journal of Anesthesia, 117(53), 62-72.

The Joanna Briggs Institute. (2016). The Joanna Briggs Institute EBP Database Guide. Retrieved from http://joannabriggs.org/research/critical-appraisal-tools.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-17