การพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีความเหนื่อยล้า
คำสำคัญ:
ความเหนื่อยล้า, ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง, การพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องบทคัดย่อ
ความเหนื่อยล้าเป็นประสบการณ์ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เช่น เกิดความบกพร่องในกิจวัตรประจำวัน เกิดความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเอง เกิดภาวะซึมเศร้า สาเหตุของความเหนื่อยล้ามาจากพยาธิสภาพของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะซีด การได้รับสารอาหาร ไม่เพียงพอจากภาวะยูรีเมีย การขาดการออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกาย ร่วมกับกระบวนการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่ทำให้สูญเสียโปรตีนออกจากร่างกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อของผู้ป่วยลดลง การพยาบาลเพื่อแก้ไขความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยทำได้โดยประเมินระดับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วย รวมถึงค้นหาสาเหตุของความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยแต่ละราย นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการพยาบาลในการจัดการความเหนื่อยล้าร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว การปฏิบัติการพยาบาลสามารถเป็นได้ทั้งบทบาทอิสระ บทบาทกึ่งอิสระ และบทบาทไม่อิสระ โดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยได้รับการจัดการความเหนื่อยล้าอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2558). ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตและการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 38(3), 139-145.
กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์ และศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย. (2559). ภาวะยูรีเมีย. ใน สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, พงศธร คชเสนี, พรชัย กิ่งวัฒนกุล, วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ, ธนันดา ตระการวนิช และคณะ (บ.ก.), ตำราโรคไตเรื้อรัง (น. 57-77). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอนัล พับลิเคชั่น จำกัด.
ดวงรัตน์ มนต์ไธสง. (2553). ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
ธัญญารักษ์ บุญโทย, นิตยา ภิญโญคำ, และจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช. (2559). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกกับเก้าอี้ต่อความเหนื่อยล้าและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. พยาบาลสาร, 43(3), 36-45.
เนาวนิตย์ นาทา. (2561). Adequacy of Peritoneal Dialysis. ใน บัญชา สถิระพจน์, อำนาจ ชัยประเสริฐ, เนาวนิตย์ นาทา และอุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ (บ.ก.) Manual of Dialysis (น.293-308). กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์.
ปฏิวัติ คดีโลก, ชนกพร จิตปัญญา, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2561). การศึกษาประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 171-187.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์, 40(5), 5-18.
โรงพยาบาลบึงกาฬ. (2557). Guideline และแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการล้างไตทางช่องท้อง. สืบค้นจาก http://buengkanphc.com/wpcontent/uploads/2015/06/guide_line-CAPD-57-.docx.pdf
วิระพล ภิมาลย์. (2564). เภสัชกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง. สืบค้นจาก http://www.kpi.msu.ac.th/upload/ag_tor_ref_byval/ag_16_in_1.2.4_876(2555).pdf
ศยามล สุขขา. (2558). เลือดจาง โลหิตจาง กับยาฉีดอีพีโอ (EPO). สืบค้นจาก : http://www.phamacy. mahidol.ac.th/knowledge/files/0267.pdf
สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2561). คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). สืบค้นจาก https://www.nephrothai.org/wp-ontent/uploads/2020/08/Clinical_Practice_Recommendation_for_Nutritional_Management_in_Adult_Kidney_Patients_2.pdf
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://www.nephrothai.org/images/10-11-2016/Final_%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD_CKD_2015.pdf
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). THAILAND RENAL REPLACEMENT THERAPY: YEAR 2016–2019. สืบค้นจาก https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2021/01/1.TRT-Annual-report-2016-2019.pdf
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 เล่ม 3 การบริหารงบประมาณผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส จำกัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อาทิตยา อติวิชญานนท์. (2560). ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. บูรพาเวชสาร, 4(2), 67-78.
Artom, M., Moss-Morris, R., Caskey, F., & Chlicot, J. (2014). Fatigue in advanced kidney disease. Kidney International, 86, 497-505. doi: 10.1038/ki.2014.86
Guest, S. (2013). Hypoalbuminemia in peritoneal dialysis patients. Advanced In Peritoneal Dialysis, 29, 55-60.
Horigan, A., Rocchiccioli, J., & Trimm, D. (2012). Dialysis and fatigue: Implications for nurses–A Case study analysis. Journal of the Academy of Medical-Surgical Nurses, 21(3), 158-175.
Lee, B-O., Lin, C-C., Chaboyer, W., Chiang, C-L., & Hung, C-C. (2007). The fatigue experience of haemodialysis patients in Taiwan. Journal of Clinical Nursing, 16, 407-413.
National Kidney Foundation. (2021). Staying fit with kidney disease. Retrieved from http://www.kidney.org/sites/default/files/11-10-0502_IBD_stayfit.pdf
Ossareh, S., Roozbeh, J., Krishnan, M., Bargman, M. J., & Oreopuolos, G. D. (2003). Fatigue in chronic peritoneal dialysis patients. International Urology and Nephrology, 35, 535-541.
Ryan, P., & Sawin, J. K. (2009). The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process and outcome. Nursing Outlook, 57, 217-225. doi:10.1016/j.outlook.2008.10.004
Zemaitis, M. R., Foris, L. A., Katta, S., Bashir, K. (2021). Uremia. Retrieved from https://www.ncbi. nlm.nih.gov/books/NBK441859/#article-30806.s15
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.