แนวปฏิบัติในการดูแลภาวะโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันสมองเสื่อม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติ, โภชนาการ, ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อมบทคัดย่อ
ภาวะสมองเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุ ทำให้สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง มีอาการทางสมอง และมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินของโรคมีผลกระทบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อาจทำให้ผู้สูงอายุขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารมากเกินไป การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจช่วยชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง และช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี โภชนาการที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การกินอาหารให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อในสัดส่วนที่เหมาะสม เลือกบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขาว เพิ่มการบริโภคผัก โดยเฉพาะผักสีเขียวเข้มและหลากสี รับประทานปลาหรือโปรตีนที่ย่อยง่าย ดื่มนม และน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกัน หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดบุหรี่ นอกจากนี้ควรส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร ออกกำลังกายให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ผ่องใส และหากผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารด้วยตนเอง ทีมสุขภาพหรือผู้ดูแลควรหาแนวทางช่วยเหลือ เพื่อคงไว้ซึ่งภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
พัชร โชติชัยสถิต พรทิพย์ มาลาธรรม นุชนาฎ สุทธิ และสุมลชาติ ดวงบุบผา. (2562). ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. ในรายงายการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 20 สืบค้นจาก https://ap.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/MMo13/MMo13.pdf
พรพิศ เรืองขจร. (2560). โภชนบำบัดกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://s3.amazonaws.com/thai-health/index.html
เพียงพร เจริญวัฒน์. (2558). งานโภชนบำบัดกับผู้ป่วยสมองเสื่อม. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย “งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ”. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
มุกดา หนุ่ยศรี. (2559). การป้องกันภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 227-240.
วริศรา รุทระวณิช. (2563). เหงา เศร้า ซึม นอนไม่หลับเรื้อรัง ตรวจสารสื่อประสาท...เพื่อรักษาให้ตรงสาเหตุ. สืบค้นจาก https://www.phyathai.com/article_detail/3291/th
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. (2552). Functional Foods for Brain ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารพยาบาลทหารบก, 10(ฉบับพิเศษ), 43-46.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือแนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด
Albanese E, Prina M. (2014). Undernutrition in dementia In : Prince M, Guerchet, M. Albanese E., & Prina, M.. Nutrition and Dementia : A review of available research, Alzheimer’s Disease Internationa. Retrieved from http://www.alz.co.uk/nutrition-report
Alzheimer’s Association. (2015). Alzheimer’s disease facts and figures. Alzheimers Dementia, 11(3), 332-384.
American Psychiatric Association. (1994). Diagnostic and statistical manual of mental disorder. (4th ed.). Washington DC: American Psychiatric Association.
Roque M, Salva A, Vellas B. (2013).Malnutrition in community-dwelling adults with dementia (NutriAlz Trial). The journal of nutrition, health & aging, 17(4), 295-9.
Takada K, Tanaka K, Hasegawa M, Sugiyama M, YoshiileN. (2017). Grouped factors of the‘SSADE: signs and symptoms accompanying dementia while eating’ and nutritional status-An analysis of older people receiving nutritional care in long-term care facilities in Japan. International journal of older people nursing, 12(3), 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.