ผลของการจัดการความรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ชัยปลัด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ปราณี มีหาญพงษ์ อาจารย์พิเศษ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การปฏิบัติการพยาบาล, ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น, การเตรียมความพร้อมผู้ป่วย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาผลของการจัดการความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดต่อความรู้ เจตคติ ต่อการจัดการความรู้ และการปฏิบัติพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นก่อนและหลังได้รับการอบรม

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้จำนวน 31 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย เป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย ประกอบด้วยแผนการอบรม แผนการสอนการจัดการความรู้ คู่มือการจัดการความรู้ คู่มือการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้ในการจัดการความรู้ 2) แบบสอบถามเจตคติต่อการจัดการความรู้ และ 3) แบบประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85, 0.87 และ 0.91 ตามลำดับ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ตรวจสอบโดยวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน   และสัมประสิทธิ์แอลฟาของ    ครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.77, 0.89, และ 0.93 ตามลำดับ โดยค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติทีแบบไม่อิสระ

ผลการวิจัย:  ความรู้ เจตคติ ต่อการจัดการความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด หลังได้รับการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดการความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด ส่งผลต่อความรู้ เจตคติต่อการจัดการความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลควรนำการจัดการความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

References

ขอบเขตของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. (7 มกราคม 2551). ราชกิจจานุเบกษาตอนพิเศษ. 125(4ง). น. 10-11.

จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์ และณัฐวุฒิ กันตถาวร. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อระดับความรู้และทัศนคติ ในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ. วารสารสภาการพยาบาล, 28(2), 75-87.

ชดช้อย วัฒนะ. (2561). การจัดการความรู้ด้วยการถอดบทเรียน ใน การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นความคิดสร้างสรรค์ ภาคีเครือข่ายการจัดการสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ 6 ปี 2561 (น. 220). จันทบุรี, ประเทศไทย

ชฎาภรณ์ ศรบุญทอง, มุกดา หนุ่ยศรี และวิไลวรรณ ทองเจริญ. (2561). ผลของการจัดการความรู้ต่อระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวลกายของวัยทำงานที่มีไขมันในเลือดสูง ชุมชนหอมแดง อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 167-176.

ชมพู เนินหาด, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล และปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์. (2561). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(2), 217-230.

น้ำฝน จันทร์แดง, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และชาญชัย ติกขะปัญโญ. (2555). กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรตามแนวทางการบริหารราชการแนวใหม่ของโรงพยาบาลทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. J Sci

Technol MSU, 31(4), 383-392.

นัท อัศวฉัตรโรจน์. (2560). ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคล: การพัฒนากระบวนการฉีดสารทึบรังสีโดยใช้เครื่องฉีดสารทึบรังสี และการทำหัตถการในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ฉุกเฉินนอกเวลาราชการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์

บัณฑิต เจ้าปฐมกุล. (2560). คู่มือคำแนะนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ. “สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย” สำนักงานคณะกรรมการและยา: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

ปิยนุช อนุแก่นทราย. (2557). องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ภายใต้บริบทประชาคมอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ปุณปวีร์ กิตติกุล, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, พัชราภรณ์ อารีย์. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ต่อพฤติกรรมการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บริหารระดับต้นในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(3), 47-60.

ภาวิณี เกษมสิริบุญวัฒน์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

โรงพยาบาลตากสิน. (2561). งานเวชระเบียนและสถิติ 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลตากสิน.

วัชรีย์ แสงมณี, ยุพิณ วัฒนสิทธิ์, และน้ำทิพย์ แก้ววิชิต. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลต่อการรายงานอุบัติการณ์ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(3), 94-102.

วิบูลย์ สุริยจักรยุทธนา และนพเก้า ศุภกุล. (2558). มาตรฐานการใช้สารทึบรังสีและแนวทางการเตรียมตัวก่อนใช้สารทึบรังสี. วชิรเวชสาร, 59(1), 73-80.

แสงสม เพิ่มพูน. (2556). การจัดการความรู้ในการสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี. เอ. ลิฟวิ่ง จำกัด.

อรนุช ธรรมศร, ชัยพร การะเกตุ และสุกัญญา เขียวสะอาด. (2560). ผลของรูปแบบเตรียมความพร้อมก่อนฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเชียงคำ One Stop Service-Two Days Care ต่อความรู้ ความวิตกกังวล ความพึงพอใจในบริการและค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(6), 1093-1102.

Anderson, J. A., & Willson, P. (2009). Knowledge management: organizing nursing care knowledge. Critical care nursing quarterly, 32(1), 1-9.

Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay.

Greenslade, J.H., & Jimmieson, N.L. (2007). Distinguishing between task and contextual performance for nurses: Development of a job performance scale. Journal of Advanced Nursing, 58(6), 602-611.

Marquis, B. L., & Huston, C. J. (2017). Leadership roles and management functions in nursing: Theory and application. (9thed.). Philadelphia, PA: Lippincott, Williams & Wilkins.

Mustapa, A. N., & Mahmood, R. (2016). Knowledge management and job performance in the public sector: The moderating role of organizational commitment. International Journal of Research in Business Studies and Management, 3(7), 28-36.

Omotayo, F.O. (2015). Knowledge management as an important tool in organizational management: A review of literature. Library Philosophy and Practice, 1(2015), 1-23.

Polit, D. F., & Beck, C.T. (2014). Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. (8th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott/Williams & Wilkins Health. United States.

Sinaga, S. P. H., Maulina, E., Tresna, P. W., Sukoco, I., Purnomo, M., & Kostini, N. (2020). Knowledge management and employee performance: A systematic literature review. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic Sciences, 5(101), 150-159 DOI:10.18551/rjoas.2020-05.16.

Wang, H. K. C. (2009). A study on the relationships among knowledge management, situational factors, professionals’ core competencies and job performance taking the vocational training centers and employment service centers as example. In The 2009 International Conference on Human Resource Development (2009 IHRD) Proceeding Taipei, Taiwan. (p. 341-348).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26