การพัฒนาระบบการจัดการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก

ผู้แต่ง

  • สุภัสรา อยู่สุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • เสาวลักษณ์ คูณทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการพยาบาล โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

คำสำคัญ:

ระบบการจัดการ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของระบบการจัดการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก และจำนวนผู้ป่วยที่ถูกงดหรือเลื่อนผ่าตัด

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง อายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามระบบการจัดการผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัย:  ระบบการจัดการผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่พัฒนาขึ้น ช่วยลดระยะเวลารอคอยบริการ พยาบาลมีข้อมูลเพื่อใช้วางแผนการดูแลต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่สอดคล้องกับปัญหารายบุคคล ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้   แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยมีผู้ป่วยงดหรือเลื่อนผ่าตัดทั้งหมดจำนวน 6 คน จากสาเหตุระดับน้ำตาลในเลือดสูง และค่าความดันโลหิตสูง มีความกังวลการผ่าตัดและลืมงดยาละลายลิ่มเลือด

สรุปและข้อเสนอแนะ: การพยาบาลตามมาตรฐานปกติสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้ผู้ป่วยได้ แต่การนำระบบการจัดการผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นร่วมกับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนช่วยทำให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมากขึ้นและพฤติกรรมการควบคุมโรคได้ดีขึ้น  

References

กฤชคุณ คำมาปัน. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 110-124.

ไชยา ท่าแดง และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลเกาะสะสมเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(4), 61-73.

ทิพย์สุดา แสนดี, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, และพรนภา หอมสินธุ์. (2560). ผลการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ น้ำหนักตัว และค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 53-66.

นิตยา อินทร์บำรุง, สุนันท์ ยิ่งแจ่มจันทร์, และวนิดา จักรากรธนวัฒน์. (2562). ประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่นอนโรงพยาบาล. (รายงานผลงานวิจัย). นครปฐม: โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).

นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา, และบุปผา ใจมั่น. (2560). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ: เพชฌฆาตเงียบที่ควรตระหนัก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 100-111

ปรัศนีย์ พันธุ์กสิกร และศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล. (2563). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก. วารสารสภาการพยาบาล, 35(4), 84-98.

ปริยากร วังศรี, วีนัส ลีฬหกุล และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการควบคุมภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 98-110.

ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์, สายจินต์ อิสีประดิฐ, อรอร ธงอินเนตร, เพ็ญพิมล ยิ่งยง, ณัฎฐิรา ชัยศรีสวัสดิ์สุข, วรภัทร วงษ์สวัสดิ์, สุดาวดี สมบูรณ์ธนกิจ, พิริญา สุ่มสวัสดิ์, กนกทิพย์ มันตโชติ, ภรณ์ลดา ศัลกวิเศษ, เอกชัย อารยางกูร, กุลวรรณ โรจน์เรืองนิตย์ และปุญญาวีร์ อาราเม. (2557). โรคตา (Eye Diseases). Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์ไทย ๒๕๕๔-๒๕๕๗) First Edition สืบค้นจาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_13.pdf

พจนา หลุยเจริญ, รัศมี น้อมศาสน์ และทวีศักดิ์ จิตรเย็น. (2561). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยก่อนส่องกล้องตรวจหลอดลมต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยในสถาบันโรคทรวงอก. วารสารกรมการแพทย์, 43(1), 85-89.

ยุภาพร นาคกลิ้ง และปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 6(1), 27-35.

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). (2560). งานเวชระเบียนและสถิติ 2560. นครปฐม: โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). (2561). งานเวชระเบียนและสถิติ 2561. นครปฐม: โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). (2562). งานเวชระเบียนและสถิติ 2562. นครปฐม: โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).

สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, จรัญ สายะสถิตย์, จิดาภา ตั้งปัญญาวงศ์ และสุวรรณา ภู่ทิม. (2563). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการสร้างจินตภาพต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 109-123.

อรวรรณ มุงวงษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรีดา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี. (2560). โปรแกรมการรับรู้ ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารกรมการแพทย์, 42(5), 62-70.

อารี คงสวน. (2557). ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

เอื้อมเดือน ชาญชัยศรี, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, และวรพล แวงนอก (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารราชนครินทร์, 6(1), 161-175.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Grove, S.K., Burns, N., & Gray, J.R. (2013). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence. (7th ed.). St. Louis, MO: Elsevier.

Hashemi, H., Pakzad, R., Yekta, A., Aghamirsalim, M., Pakbin, M., Ramin, S., & Khabazkhoob, M. (2020). Global and regional prevalence of age-related cataract: a comprehensive systematic review and meta-analysis. Eye, 34(8), 1357-1370. doi: 10.1038/s41433-020-0806-3. Epub 2020 Feb 13.

Hurst, C. P., Rakkapao, N., & Hay, K. (2020). Impact of diabetes self-management, diabetes management self-efficacy and diabetes knowledge on glycemic control in people with Type 2 Diabetes (T2D): A multi-center study in Thailand. PLoS One, 15(12), e0244692 dOI10.1371/journal.pone.0244692.

World Health Organization. (2021). Blindness and vision impairment. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26