การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • ที่อยู่ติดต่อ email และเบอร์โทรศัพท์

คำแนะนำผู้แต่ง

คำชี้แจงและเงื่อนไขการจัดทำนิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) 

วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety & Environment Review)

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) หมายถึง รายงานผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม ประเด็นอาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขศาสตร์อุตสาหกรรม อาชีวสุขศาสตร์ วิศวกรรมความปลอดภัย ระบาดวิทยาอาชีวอนามัย การจัดการหรือบริหารงานทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย

1. บทความ มีความยาวไม่เกิน 14 หน้ากระดาษ A4 ที่รวมเอกสารอ้างอิง ตาราง ภาพ ภาคผนวกแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย 

1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรใช้คำย่อ

1.2 ชื่อผู้วิจัย หรือผู้เขียน (Authors) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสถาบันที่ผู้เขียนสังกัดขณะทำวิจัย โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม 

1.3 บทคัดย่อ (Abstract) จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (Abstract) โดยมีจำนวนไม่เกิน 250 คำ จัดทำในย่อหน้าเดียว ประกอบด้วยแต่ละส่วนคือ บทนำและวัตถุประสงค์ (Introduction and Objective) วิธีการศึกษา สถานที่ศึกษา การวัดผล (Methods) ผลการศึกษา (Results) และสรุป/อภิปรายหรือข้อเสนอแนะ (Conclusions)

1.4 คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 5 คำ ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้สืบค้นในระบบฐานข้อมูลที่คิดว่าผู้ที่สืบค้นบทความนี้ควรใช้ และคั้นด้วยเครื่องหมาย “ / ” ระหว่างคำ

1.5 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 

1.5.1 บทนำ (Introduction) บอกถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วรรณคดีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัย และสมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ซึ่งควรเขียนในรูปของความเรียงให้เป็นเนื้อเดียวกัน

1.5.2 วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and Methods) หรือวิธีการศึกษา (Methods) ระบุถึง รูปแบบการวิจัย ประชากรศึกษา วิธีการเลือกตัวอย่าง วัสดุ สารเคมี วิธีการวัดผล การวิเคราะห์ตัวอย่าง มีรายละเอียดที่เพียงพอที่จะเข้าใจ และวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ กรณีที่เป็นการวิจัยในคนให้ระบุว่าผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมในงานวิจัยในมนุษย์ของสถาบันใด มีเลขที่อ้างอิง

1.5.3 ผลการวิจัย (Results) ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย การนำเสนอผลการศึกษา ในรูปแบบที่เหมาะสม ในเนื้อเรื่อง ในตาราง หรือในรูปภาพ โดยตารางและรูปภาพควรมีรวมกันไม่เกิน 7 ชิ้น ควรมีนัยสำคัญทางสถิติกำกับ ในตารางหรือภาพควรมีคำอธิบายกำกับ และต้องกล่าวอ้างถึงตารางหรือภาพในเนื้อความ

1.5.4 อภิปรายผล (Discussions) หรือวิจารณ์ ให้เป็นอภิปรายการทดลองของตัวเองในบริบทของความรู้ที่มีในสาขาวิชานั้น ไม่นำเสนอผลการทดลองซ้ำอีก นำเสนอการวิเคราะห์ตั้งสมมุติฐาน มีการอ้างอิงครบถ้วนถูกต้องเหมาะสม และสามารถเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์หรือเพื่อการศึกษาต่อไป

1.5.5 สรุป (Conclusion)

1.6 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) ระบุแหล่งทุนหรือผู้มีส่วนสนับสนุนในการทำวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ

1.7 เอกสารอ้างอิง (References) ตามแบบที่ทางวารสารกำหนดคือระบบ หมายเลขเอกสารอ้างอิงตามลำดับที่อ้างในบทความ (Citation) ใช้ตัวเลขอารบิคตัวยก (Superscript) ไม่ใส่วงเล็บในเนื้อหาของบทความ

1.8 ภาคผนวก (ถ้ามี) ตาราง (Table) และ ภาพ (Figure) ให้จัดเตรียมแยกต่างหากจากเนื้อหาไว้ท้ายบทความหลังเอกสารอ้างอิง

2. การเตรียมต้นฉบับบทความ

บทความที่นำเสนอต้องพิมพ์ลงบนกระดาษขนาด A4 พิมพ์หน้าเดียว โดยมีรายละเอียดการพิมพ์ ดังนี้

2.1 ตัวอักษรที่ใช้ พิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ “TH SarabunPSK” โดย

2.1.1 ชื่อเรื่อง อยู่กึ่งกลางหน้าและตัวอักษรใช้ตัวเข้ม โดยใช้ตัวอักษรขนาด 18 

2.1.2 ชื่อผู้เขียน อยู่กึ่งกลางหน้าและตัวอักษรใช้ตัวปกติ โดยใช้ตัวอักษรขนาด 14 และสถาบันที่ผู้เขียนสังกัดขณะทำวิจัย ไม่ต้องใส่ยศ คำนำหน้า ตำแหน่ง หรือปริญญา สามารถใส่เครื่อง * เพื่อบ่งถึงผู้เขียนหลักที่รับผิดชอบโต้ตอบบทความ

ตัวอย่าง สุนิสา ชายเกลี้ยง1 * 

1ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

*ผู้เขียนรับผิดชอบบทความ (email:csunis@kku.ac.th)

2.1.3 บทคัดย่อ ตัวอักษรใช้ตัวเอนไม่เข้ม โดยใช้ตัวอักษรขนาด 16 

2.1.4 เนื้อเรื่อง กิตติกรรมประกาศ และภาคผนวก ตัวอักษรใช้ตัวปกติ ส่วนของชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อย ใช้ตัวเข้ม โดยใช้ตัวอักษรขนาด 16 

2.1.5 เอกสารอ้างอิง ตัวอักษรใช้ตัวปกติ ตามแบบที่ทางวารสารกำหนด โดยใช้ตัวอักษรขนาด 14 

2.2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ กำหนดขอบบน ขอบล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.5 เซ็นติเมตร ส่วนการพิมพ์ย่อหน้าให้ห่างจากเส้นกั้นขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 เซ็นติเมตร

2.3 การกำหนดเลขหัวข้อ  หัวข้อใหญ่ให้ชิดซ้ายติดเส้นกั้นขอบกระดาษ หัวข้อย่อยใช้หัวข้อหมายเลข เลขข้อระบบทศนิยม เลขตามด้วยวงเล็บ ตัวอักษร และเครื่องหมาย “ - ” กำกับหัวข้อ ตามระดับหัวข้อ ดังนี้

1.  …

    1.1 …

          1.1.1 …

                 1) …

                     ก. ... (กรณีภาษาไทย) หรือ a. … (กรณีภาษาอังกฤษ)

2.4 ตารางและภาพประกอบ (Tables and Illustrations) พิมพ์แยกหน้าและเรียงลำดับไว้ท้ายเรื่อง หลังเอกสารอ้างอิง โดยระบุชื่อตารางไว้เหนือตารางแต่ละตาราง และระบุชื่อภาพแต่ละภาพไว้ใต้ภาพนั้นๆ เว้นบรรทัดเหนือชื่อตาราง และเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นใต้ตารางและใต้ชื่อภาพ 1 บรรทัด และจัดเรียงตามลำดับหรือหมายเลขที่อ้างถึงในบทความ คำบรรยายประกอบตารางหรือภาพประกอบควรสั้นและชัดเจน ภาพถ่ายให้ใช้ภาพที่มีความคมชัด ขนาดโปสการ์ด ส่วนภาพเขียนลายเส้นต้องชัดเจน มีขนาดที่เหมาะสม กรณีคัดลอกตารางหรือภาพมาจากที่อื่น ให้ระบุแหล่งที่มาใต้ตารางและภาพประกอบนั้นๆ ด้วย

3. การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารใช้ตัวเลข พิมพ์ในวงเล็บ เรียงลำดับตามการอ้างในเรื่อง ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทุกเรื่องจากตัวจริงหรือสำเนาตัวจริง เอกสารอ้างอิงเขียนระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ให้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษ กรณีที่มาจากภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและวงเล็บไว้ท้ายเรื่อง (in Thai) หากเป็นเรื่องที่มีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คนขึ้นไป ให้ใส่เฉพาะ 6 ชื่อแรก และตามด้วย “et al.” ใช้ชื่อย่อของวารสารตามที่กำหนดใน List of Journals Indexed in Index Medicus. ใส่เลขหน้าแรก และหน้าสุดท้ายของเอกสาร โดยไม่ต้องเขียนเลขหน้าที่ซ้ำกัน เช่น 13-8, 225-35.

ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสารจัดทำเป็นภาษาอังกฤษและใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Examples of Reference in Vancouver Style)

Journal article

  1. Chaiklieng S, Suggaravetsiri P. Qualitative assessment on relative risk from occupational hazards associated with fishnet production among home workers. Safety and Environment Reviews 2560; 26 (2): 13-8. (In Thai)
  2. Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Kaminski N, Autrup H. Factor affecting tt-Muconic acid in benzene exposed workers at gasoline stations. Int J Environ Res Public Health 2019;16:4209, doi.10.3390/ijerph16214209.
  3. Hoppe K, Sartorius T, Chaiklieng S, Wietzorrek G, Ruth P, Jurkat-Rott K, et al. Paxilline prevents the onset of myotonic stiffness in pharmacologically induced myotonia – a preclinical investigation. Front Physiol 2020;11:533946, doi:10.3389/fphys.2020.533946.
  4. Hoppe K, Chaiklieng S, Lehmann-Horn F, Jurkat-Rott K, Wearing S, Klingler W. Elevation of extracellular osmolarity improves signs of myotonia congenita in vitro: a preclinical animal study. J Physiol 2019;597(1):225-35.

Book

  1. ACGIH. TLVs and BEIs. Based on the documentation of the threshold limit values for chemical substances and physical agents & biological exposure indices. ACGIH: Cincinnati, USA, 2019.
  2. NIOSH. NIOSH Manual of analytical methods (NMAM), 5th ed.; Ashley K, O’Connor, PF, Eds.; NIOSH: Cincinnati, USA, 2016.

Chapter in the book

  1. Bradley C. Measuring quality of life in diabetes. In: Marshall SM (eds). The Diabetes Annual 10. Amsterdam: Elsevier Science, 1996: 207-24.
Conference proceedings
  1. Chaiklieng S., Suggaravetsiri P., Sungkhabut W., Stewart J. Prevalence and risk factors associated with upper limb disorders and low back pain among informal workers of hand-operated rebar benders. In: Ahram et al. (eds). Human Systems Engineering and Design II IHSED 2019, Sept 16-18; Munich, Germany. Advances in Intelligent Systems and Computing 2020;1026:611-8. Cham: Springer. doi: https://doi.org/10.1007/978-3-030-27928-8_93.

Website

  1. Department of Energy Business, Ministry of Energy, Thailand. Gasoline stations data. Available at http://www.doeb. go.th, accessed on 1 January 2014.

การส่งต้นฉบับ

จัดทำไฟล์ข้อมูลส่ง สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 420/1 อาคาร 2 ชั้น 7 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรือส่งไฟล์อิเลคทรอนิกส์ที่ email: ohswa.111@gmail.com คุณสุรีรัตน์ เวสารัชวรกุล โทร. 087-7145030 (หมายเหตุ: สามารถส่งผ่านระบบวารสารเวปไซน์ Thaijo ได้ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป) หรือกรณีมีข้อสงสัยสามารถสอบถามบรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง (e-mail: csunis@kku.ac.th)

2. Preparing a manuscript in english:

  • The manuscript could be written in English or Thai. The maximum length of the article is 14 pages including tables, figures, and references. Abstracts must be structured in 1 paragraph and limited to 250 words.
  • The manuscript should be typed with 1-inch margins at all sides, on one side of A-4 paper. 
  • Tables and Figures: Table and figure should be typed on separate pages after references
  • References: Number references in superscript in the order cited in the text. References must be verified by the author(s) against the original documents. For articles printed in a language other than English, indicate the language in parentheses after the article title.  Reference must be in Vancouver style. For more than 6 authors, list the first 6 and add “et al”.  The title of journal should be abbreviated according to the List of Journals Indexed in Index Medicus. Telescope page numbers, e.g. 125-9, 181-95

Original article

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ