การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามทางเคมี ในสภาพแวดล้อมการทำงานของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ

ผู้แต่ง

  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การสัมผัสทางการหายใจ, เม็ทโธมิล, คาร์เบนดาซิม

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงสำรวจนี้เป็นการประเมินสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ โดยการใช้กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปลูกดอกมะลิและใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชคือ สารเม็ทโธมิล (Methomyl) และสารคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) โดยสัมภาษณ์ สังเกต และเก็บตัวอย่างอากาศวัดปริมาณของสารทั้งสองชนิดที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน เก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวบุคคลที่ตาม NIOSH Method No.5601 วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography with UV Detector (HPLC) และนำผลการสัมภาษณ์ การสังเกตการทำงานตามขั้นตอนการฉีดพ่นสาร การเก็บดอกมะลิ และการร้อยมาลัย เพื่อการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงาน และประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณทางเคมีตามหลักการของ U.S.EPA (2007) ด้านการสัมผัสสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผลการศึกษาพบว่าการสัมผัสสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานในขั้นตอนการฉีดพ่นคือ สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชผ่านทางการเดินหายใจและผิวหนัง โดยพบค่าของความเข้มข้นของสารเม็ทโธมิลในอากาศที่ได้รับเข้าสู่ทางเดินหายใจ มีค่าเท่ากับ 1.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (0-1.12 mg/m3) แต่ไม่ตรวจพบสารคาร์เบนดาซิม ซึ่งค่าปริมาณความเข้มข้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานกำหนด ACGIH และ NIOSH (TLV-TWA = 2.5 mg/m3) ปริมาณสารเม็ทโธมิลที่ได้รับผ่านระบบการเดินหายใจจากการประเมินการสัมผัสทางเท่ากับ 0.080 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าอ้างอิงที่ยอมรับให้สัมผัสได้กำหนดที่ 0.025 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ดังนั้นเกษตรมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับสารเม็ทโธมิลผ่านทางระบบการหายใจ (Hazard Quotient=3.24) ที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้เมื่อสัมผัสในระยะยาว จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังทางสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนการตรวจสุขภาพ การเก็บตัวอยางอากาศและการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกรและเกิดความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น

References

National Statistical Office, Thailand. The report of informal employment survey. Bangkok: Ministry of information and communication technology; 2011.

Homenet. Homeworkers in Thailand: A Study on Their Legal Problems, Available at: http://caw.jinbo.net/popups/articleswindow.php?id=44, accessed August 31, 2011.

Laungaramsri P. Home workers in Thailand: an assessment. A paper submitted to the Friedrich-Ebert-Stiftung. Chiang mai: Chiangmai University, 2005.

The ministry of Labour. Home workers protection act 2010. Available at http://thailaws.com/body_thaiacts_a03.htm, accessed August 31, 2012.

Chaiklieng S and Homsombat T. Ergonomic risk assessment by RULA among informal sector workers of Rom Suk broom weaving. Srinagarind Med. J. 2011; 26:9-14.

Bernard BP. Musculoskeletal disorders and workplace factors. A critical review of epidemiological evidence for work-related musculoskeletal disorders of the neck, upper extremity and low back. USA: Department of health and human services (NIOSH); 1997.

Sungkhabut W and Chaiklieng S. Musculoskeletal disorders among informal sector workers of hand-operated rebar bender: a pilot study. Srinagarind Med. J. 2011; 26(3): 45-50.

Chaiklieng S. Work-related back pain. KKU Journal of Public Health Research 2009; 2(3):49-58.

Chaiklieng S. Industrial toxicology. Khon Kaen: Khon Kaen University printing, Thailand, 2002.

Haynes S and Williams K. Socio-economic differences in the prevalence of acute, chronic and disabling chronic pain among ageing employees. Pain 2008; 114, 364–71.

Linton SJ. A review of psychosocial risk factors in back and neck pain. Spine 2000; 25, 1148-56.

Department of Labor Protection and Welfare, Ministry of Labor, Thailand. Regulation on the standard of management of safety, occupational health and work environment; heat, light and sound, version 2006. Available at http://www.labour.go.th/law/index.htm, accessed March 20, 2010.

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Boonprakob Y. Work ergonomic hazards for musculoskeletal pain among university office workers. Walailak J Sci & Tech. 2010; 7(2), 169-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-16