การเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนระหว่างพยาบาล ที่ทำงานผลัดหมุนเวียนกลางคืนกับทำงานกะกลางวันปกติ

ผู้แต่ง

  • สุชญา บุญวิริยะ

คำสำคัญ:

พยาบาล, การทำงานกะหมุนเวียนกลางคืน, การทำงานกะกลางวันปกติ, ระดับเอสโตรเจนในเลือด

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับเอสโตรเจนในเลือดระหว่างพยาบาลที่ทำงานกะหมุนเวียนกลางคืนกับพยาบาลที่ทำงานกะกลางวันปกติ กลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 25-40 ปี ทำการเจาะเลือดบริเวณเลือดดำส่วนปลาย ในช่วงวันที่ 2-5 ของรอบเดือน พร้อมแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และรูปแบบการทำงานตามลักษณะงานของกล่มุ นั้นๆ ผลการศึกษาพบว่าค่ามัธยฐานของระดับเอสโตรเจนกลุ่มที่ทำงานกะหมุนเวียนกลางคืนเป็น 126.00 pmol/L (IQR 87.70-151.50) ส่วนกลุ่มที่มีการทำงานกลางวันปกติเป็น 103.00pmol/L (IQR 72.20-133.00) และเมื่อทดสอบด้วย Mann-Whitney U พบว่ามีค่า p-value เท่ากับ 0.036 แสดงว่าระดับเอสโตรเจนของทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อศึกษารูปแบบการทำงานกะในกลุ่มที่มีการทำงานกะหมุนเวียนกลางคืน พบว่า รูปแบบการทำงานกะแบบ 8 ชั่วโมง กับ 12 ชั่วโมง หรือการทำงานทั้ง 2 แบบร่วมกัน มีระดับเอสโตรเจนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นเดียวกับจำนวนชั่วโมงการทำงานกะกลางวันต่อเดือน และจำนวนชั่วโมงการทำงานกะกลางคืนต่อเดือน พบ p-value ทั้งคู่เท่ากับ <0.001 รวมทั้งยังพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับเอสโตรเจน กับจำนวนชั่วโมงการทำงานกะกลางวันต่อเดือน (p-value<0.001) และจำนวนชั่วโมงการทำงานกะกลางคืนต่อเดือน (p-value 0.026) เมื่อวิเคราะห์ด้วย univariate linear regression ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ว่า ผู้ที่ทำงานกพหมุนเวียนกลางคืน จะมีระดับเอสโตรเจนสูงกว่าผู้ที่ทำงานกะกลางวันปกติ รวมทั้งพบว่า จำนวนการทำงานกะหมุนเวียนกลางคืนที่มากส่งผลต่อระดับเอสโตรเจนที่สูงขึ้นด้วย

References

Straif K, Baan R, Grosse Y. Carcinogenicity of shiftwork, painting, and firefighting. Lancet Oncol 2007; 8:1065e6.

กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2558 HOSPITAL BASED CANCER REGISTRY 2015,[online] 2015 [cited 2016Apr1] ;69[94screens]. Available at http://www.nci.go.th/th/File_download/NciCancerRegistry/HOSPITALBASED2015.pdf.

Alfred J. Lewy, Saeeduddin Ahmed, Jeanne M. Latham Jackson, Robert L. Sack. Melatonin Shifts Human Circadian Rhythm According to a Phase-Response Curve. Chronobiology International 1992; 9(5):380-392.

Helena Schock. Hormone Concentrations during Pregnancy and Maternal Risk of Epithelial Ovarian Cancer. [Internet]. Print & Media [cited 2016 Jan 12] Available from: https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2: 806991/FULLTEXT01.pdf.

Gomez-Acebo I, Dierssen-Sotos T, Papantoniou K, García-Unzueta MT, Santos-Benito MF, Llorca J. Association between exposure to rotating night shift versus day shift using levels of 6-sulfatoxymelatonin and cortisol and other sex hormones in women. Chronobiol Int, 2015; 32(1):128-35.

Paola Ferri, Matteo Guadi, Luigi Marcheselli, Sara Balduzzi, Daniela Magnani,Rosaria Di Lorenzo. The impact of shift work on the psychological and physical health of nurses in a general hospital: a comparison between and Healthcare Policy 2016; 9:203–211.

Kate Sparks and Cary Cooper,Yitzhak Fried, Arie Shirom. The effects of hours of work on health: A metaanalytic review. Journal of Occupational an Organizational Psychology 1997; 70:391-408.

Anders Knutsson. IN-DEPTH REVIEW: SHIFT WORK, Health disorders of shift workers. Occupational Medicine 2003; 53:103–108.

Anna Merklinger-Gruchala , Peter T. Ellison , Susan F. Lipson , Inger Thune and Grazyna Jasienska. Low estradiol levels in women of reproductive age having low sleep variation. European Journal of Cancer Prevention 2008, 17:467–472.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-16