พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือด ของกลุ่มเกษตรปลูกยาสูบใน ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พัชร์สิริ ศรีเวียง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, เกษตรกรปลูกยาสูบ

บทคัดย่อ

          ในจังหวัดสุโขทัย การเพาะปลูกยาสูบถือได้ว่าเป็นรายได้หลักสำคัญในหลาย ๆ ครัวเรือนซึ่งในเกษตรกรบางรายมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชค่อนข้างมาก โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรปลูกยาสูบตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
          วิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยการเจาะเลือดเกษตรกร เพื่อตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสชุดตรวจหาปริมาณระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเซรั่มขององค์การเภสัชกรรม และแบบสัมภาษณ์์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรม การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับระดับเอนไซม์์โคลีนเอสเตอเรสโดยสถิติ Chi-square และ Pearson Correlation
          การอภิปรายผล : เกษตรกรที่มีประวัติการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 14 วันขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 56.0 ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยน้อยกว่า 7 วันต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 78.8 ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชส่วนใหญ่เพื่อกำจัดวัชพืช คิดเป็นร้อยละ 55.9 และเพื่อกำจัดแมลงคิดเป็นร้อยละ 44.1 เกษตรกรมีระดับพฤติกรรมความเสี่ยงต่อสุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 63.5 รองลงมาคือ สูง และปานกลางคิดเป็นร้อยละ 19.5 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมความเสี่ยงต่ำ มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.8 เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 44 นอกจากนี้ บทบาทการใช้สารเคมี และประวัติการฉีดพ่นสารเคมี ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ ส่วนพฤติกรรมความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด มีความสัมพันธ์ทางสถิติเชิงบวกในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (r=0.25, p-value = .005) และความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันเฉลี่ยของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value = 0.03)
          ข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบมีความเสี่ยงด้านพฤติกรรมความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นควรมีการเสริมสร้างความรู้โดยเฉพาะในเรื่องการลดจำนวนวันการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องลง สุขลักษณะที่เหมาะสมในระกว่างการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีให้ถูกต้อง

References

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1. [เข้าถึงเมื่อ 2559 กุมภาพันธ์ 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/e-book_T/plan1.pdf.

สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง. (2558). สถิติเพาะปลูกพืชรายเดือนพืชไร่ ประเภทยาสูบ อำเภอ ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ช่วงเวลาการเพาะปลูก เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2558. . [เข้าถึงเมื่อ 2558 กุมภาพันธ์ 10].

สำนักระบาดวิทยา2554 (สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ.2556. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ (2559). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยาสูบ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [เข้าถึงเมื่อ 2559 กุมภาพันธ์ 10]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th/chm/data.../pdf/.../1%20(2).pdf

จริยา ม่วงงาม (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกรที่ปลูกยาสูบ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Yamanae, Taro (1973). Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill, Inc.

ณิต์ชกมล นันตะแก้ว. (2548). พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในตำบลบ้างโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิตติพันธุ์ ย่งฮะ (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเกษตรกรพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุทัยทิพย์ สังกลม ปัทธมาภรณ์ ขุนทรง กฤษณาพิรุณโปรยและปัญจป์พัชรภร บุญพร้อม. (2556). ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีของเกษตรกรในพื้นที่กรงุเทพมหานคร และนครปฐมกับระดับโคลีนเอสเตอเรส. วารสารสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ ปีที่2 ฉบับที่ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาภิรมย์ ชิณโณ และคณะ. (2554). พฤติกรรมในการใช้และการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2553. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3; (พ.ย. 2553-ก.พ. 2554).

ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์. (2550). ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรผู้ใช้สารกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-16