การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามทางเคมี ในสภาพแวดล้อมการทำงานของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ
คำสำคัญ:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การสัมผัสทางการหายใจ, เม็ทโธมิล, คาร์เบนดาซิมบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจนี้เป็นการประเมินสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ โดยการใช้กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปลูกดอกมะลิและใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชคือ สารเม็ทโธมิล (Methomyl) และสารคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) โดยสัมภาษณ์ สังเกต และเก็บตัวอย่างอากาศวัดปริมาณของสารทั้งสองชนิดที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเกษตรกรผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน เก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวบุคคลที่ตาม NIOSH Method No.5601 วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography with UV Detector (HPLC) และนำผลการสัมภาษณ์ การสังเกตการทำงานตามขั้นตอนการฉีดพ่นสาร การเก็บดอกมะลิ และการร้อยมาลัย เพื่อการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงาน และประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณทางเคมีตามหลักการของ U.S.EPA (2007) ด้านการสัมผัสสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผลการศึกษาพบว่าการสัมผัสสิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานในขั้นตอนการฉีดพ่นคือ สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชผ่านทางการเดินหายใจและผิวหนัง โดยพบค่าของความเข้มข้นของสารเม็ทโธมิลในอากาศที่ได้รับเข้าสู่ทางเดินหายใจ มีค่าเท่ากับ 1.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (0-1.12 mg/m3) แต่ไม่ตรวจพบสารคาร์เบนดาซิม ซึ่งค่าปริมาณความเข้มข้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานกำหนด ACGIH และ NIOSH (TLV-TWA = 2.5 mg/m3) ปริมาณสารเม็ทโธมิลที่ได้รับผ่านระบบการเดินหายใจจากการประเมินการสัมผัสทางเท่ากับ 0.080 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าอ้างอิงที่ยอมรับให้สัมผัสได้กำหนดที่ 0.025 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ดังนั้นเกษตรมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับสารเม็ทโธมิลผ่านทางระบบการหายใจ (Hazard Quotient=3.24) ที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้เมื่อสัมผัสในระยะยาว จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังทางสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนการตรวจสุขภาพ การเก็บตัวอยางอากาศและการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมะลิ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกรและเกิดความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
References
เสาวคนธ์ ศิริมุกดากุล. การศึกษาสภาพการผลิตมะลิเพื่อการค้า กรณีศึกษา: บ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร, 2547.
Extension Toxicology Network. Methomyl. [Online]. Available at http://pmep.cce.cornell.edu/profiles/extoxnet/haloxyfop-methylparathion/methomyl-ext.html, accessed August 14, 2007.
สารเคมี เอกสารข้อมูลความปลอดภัย: Carbendazim. [online]. แหล่งข้อมูล URL http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst10605-21-7.html, สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2558.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
US. EPA. Risk assessment guidance for superfund RAG part A, 2007. [homepage on the Internet]. Available at https://www3.epa.gov/pesticides/endanger/litstatus/effects/redleg-frog/methomyl/analysis.pdf, accessed December 19,2014
NIOSH. Manual of Analytical Methods (NMAM): Organonitrogen pesticides. [online]. Available at URL https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/5601.pdf, accessed September 30, 2014.
U.S. Environmental Protection Agency. Integrated Risk Information System (IRIS), Methomyl. Available at URL https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/ 0069_summary.pdf, , accessed September 30, 2014.
American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). TLVs and BEIs. 7th ed. Cincinnati (OH): ACGIH Worldwide; 2014.
NIOSH Pocket Guide to chemical hazards. [Internet]. 2012. Available at https://www.cdc.gov/niosh/npg/npgd0387.html, accessed Mar 14, 2013.
ชัชวาล กริ่งสันเทียะ และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารสกัดสะเดากำจัดแมลงศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกผัก ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ว.วิชาการสุขภาพ ภาคประชาชนภาคอีสาน 2552;23(2):45-53
สุภาพร ทุยบึงฉิม และ ชูชาติ คล้ายหิรัญ. สถานการณ์โรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นปี พ.ศ. 2542 – 2546. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6, 2548.
กรกนก พลท้าว และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการเพาะปลูกมะเขือเทศเก็บเมล็ดพันธุ์ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น. 2555;5(3):31-8.
ยุพิน พันธ์ชมภู และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรปลูกแตงโม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2555;5(2):73-80
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.