การสัมผัสฝุ่นและสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงสีข้าวแห่งหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ฝุ่นขนาดเล็ก, ฝุ่นรวม, สมรรถภาพปอด, โรงสีข้าวบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสัมผัสฝุ่นและสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงสีข้าวแห่งหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) การประเมินการสัมผัสฝุ่นรวมและฝุ่นขนาดเล็กในบรรยากาศ การทำงาน โดยใช้ชุดอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวบุคคลตามวิธีการมาตรฐาน NIOSH method number 0500 และ 0600 ตามลำดับ 2) การตรวจสมรรถภาพปอดโดยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry) และ 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการทำงานโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 64.3) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 33.5 ± 9.39 ปี ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 8.16 ± 5.28 ปี ค่าเฉลี่ยของการสัมผัสฝุ่นรวมและฝุ่นขนาดเล็กตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.32 ± 0.19 และ 0.09 ± 0.05 mg/m3 ตามลำดับ ผลการตรวจสมรรถภาพปอด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพปอดผิดปกติ ร้อยละ 40.5 ทั้งหมดผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัว (ร้อยละ 100) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ การสัมผัสฝุ่นรวม และฝุ่นขนาดเล็กมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p-value = 0.046, 0.031 และ 0.031 ตามลำดับ) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าควรหามาตรการในการลดการสัมผัสฝุ่น เพื่อป้องกันการเสื่อมสมมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงสีข้าว
References
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมข้าว (พ.ศ. 2554-2559) ภายใต้แผนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา สวทช. ระยะที่ 2 พ.ศ. 2554 – 2559. สวทช. 2555; 7-22.
Pande BN, Traczyk EK, Prazmo Z, Skorska C, Sitkowska J, Dutkiewicz J. Occupational Biohazards in Agricultural Dusts from India. Agric Environ Med 2000;7: 133–9.
วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม กลยุทธ์ประเมิน ควบคุมและจัดการ. กรุงเทพฯ : เบสท์กราฟฟิค เพรส, 2557: 44-5
นพภาพร พานิช และ คณะ. ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. กรุงเทพมหานคร: กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2547.
สุจิรา ประสารพันธ์. ฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อมและฝุ่นละอองที่คนงานได้รับในโรงสีข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
Occupational Safety and Health Administration. 1988 OSHA PEL Project Documentation. Available at http://www.cdc.gov/niosh/pel88/dusts.html, accessed January 17,2016.
American Conference of Governmental Industrial Hygienists. Documentation of the Threshold Limit Values (TLVs) and Biological Exposure Indices (BEIs) – Particulates (Insoluble) Not Otherwise Specified (PNOS). 2001, Available at http://www.cdc.gov/niosh/pel88/DUSTS.html, accessed January 17, 2016.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2558. 2557.
พิชญาภัค ศรีจำนงค์. การสัมผัสฝุ่นและสมรรถภาพปอดของคนงานในโรงสีข้าวขนาดใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548
เอกสารคณะกรรมการแพทย์ของกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคม. โรคปอดจากการทำงาน (Occupational Lung Diseases). เข้าถึงได้ที่ http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=11195, เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2559.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอด.2545. เข้าถึงได้ที่ http://thaichest.net/images/article/guideline/GuidelinePFT.pdf, เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2559.
National Institute for Occupational Safety and Health. NIOSH Manual of Analytical Methods (NMAM), Method 0500 Particulates not otherwise regulated Respirable.1994, 4th ed. Issue 2. Available at https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/0500.pdf, accessed January 17, 2016.
National Institute for Occupational Safety and Health. NIOSH Manual of Analytical Methods (NMAM), Method 0600 Particulates not otherwise regulated Respirable. 1998, Issue 3. Available at https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/0600.pdf, accessed January 17, 2016.
Sakwari G, Bråtveit M, Mamuya SH, Moen BE. Dust exposure and chronic respiratory symptoms among coffee curing workers in Kilimanjaro: a cross sectional study. BMC Pulmonary Medicine 201;11(54):
สมสมัย แพงดวง. ปริมาณฝุ่นละอองที่ผู้ปฏิบัติงานโรงสีข้าวขนาดเล็กในหมู่บ้านได้รับขณะปฏิบัติงาน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551
Balbay EG, Cakiroglu EB, Arbak P, Balbay O, Avcıoglu F, Belada A. Respiratory symptoms and functions in barn workers. Annals of Agricultural and Environmental Medicine 2014;21(1): 25-28.
พรรณิภา สืบสุข. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวะผ็นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
กัลยา หาญพิชาญชัย. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเสื่อมสมรรถภาพปอดของคนงานในโรงสีข้าว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548
Holdbrook HJ, Tobacco, In WD, Jean et al. (Eds.). Harrison’s principles of internal medicine. 12th ed. New York: McGraw-Hill, 1991: 2158-16.
Mohan M, Aprajita, Panwar NK. Effect of wood dust on respiratory health status of carpenters. J Clin Diagn Res 2013;7(8): 1589-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.