การประเมินการรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนและอาการปวดหลังส่วนล่าง ในพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน ของงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี บุญจง
  • พรทิพย์ เย็นใจ
  • ปวีณา มีประดิษฐ์

คำสำคัญ:

แรงสั่นสะเทือน, การรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือน, พนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน, การตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนและอาการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือนของงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดเกณฑ์คัดเข้าคือขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มระบบสั่นสะเทือนในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา ยินดีเข้าร่วมการวิจัย และไม่เป็นโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามอาการปวดหลังส่วนล่างจากอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกของนอร์ดิกเฉพาะหลังส่วนล่าง และเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 43 ปี (S.D.10.62) น้ำหนักเฉลี่ย 68 กิโลกรัม (S.D.6.6) ในหนึ่งวันขับรถเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ขับรถต่อเนื่องยาวนานที่สุดในหนึ่งวันเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมง (S.D.1.18) ประสบการณ์ในการขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืด โดยเฉลี่ยคือ 15.87 ปี (S.D. 9.87) ผลแรงสั่นสะเทือนพบว่ากลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนเกินกว่าค่ามาตรฐาน ISO 2631-1,1997(1) (0.5 m/s2) จำนวน 13 คน ร้อยละ 86.67 กลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างภายในระยะ 7 วันที่ผ่านมา มีอาการปวดปานกลางร้อยละ 13.33 และมีอาการปวดมาก ร้อยละ 33.33 กลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างภายในระยะ 12 เดือนที่ผ่านมา มีอาการปวดปานกลาง ร้อยละ 40 และมีอาการปวดมาก ร้อยละ 13.33 จากผลการศึกษาดังกล่าว การขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือนเป็นงานที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ จำเป็นต้องมีลดการรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือน และเฝ้าระวังอันตรายต่อสุขภาพต่อไป

References

International Standard. Evaluation of Whole-body vibration involves the assessment of risk associated with exposure to vibration. Switzerland: International Organization for Standardization. ISO-263,1997.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2554 – 2558 ประเภทกิจการก่อสร้าง. [อินเตอร์เน็ต]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/accidentbuild54-58.pdf

ยิ่งยศ บุณยานันต์.การประยุกต์ใช้วัสดุสังเคราะห์ในการเพิ่มเสถียรภาพของคันทางถนนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556.

กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ำป่าสัก[อินเตอร์เน็ต]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/mdpasak/about-us

อนามัย ธีรวิโรจน์.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์ 2556.

ประมุข โอศิริ. การตรวจวดั และประเมินความสั่นสะเทือนแสงสว่าง และความดันบรรยากาศ (ชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การประเมิน). [อินเตอร์เน็ต]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก www.safety-stou.com/UserFiles/File/54113%20unit%207.doc

Ozlem Ovayolu, Nimet Ovayolu, Mehtap Genc, Nilgun Col-Araz. Frequency and severity of low back pain in nurses working in intensive care units and influential factors. Pakistan journal of medical sciences 2014; 30: 70-76.

Johanning Eckardt, Wilder, David G., Landrigan Philip J., Pope Malcolm H, Whole-Body Vibration Exposure in Subway Cars and Review of Adverse Health Effects. Journal of Occupational Medicine 1991; 33: 605-612

Bovenzi M. Health effects of mechanical vibration. Giornale Italiano di Medicina del Lavoro ed Ergonomia 2005; 27:1, 58-64

อนุชิต เกตุรวม. การศึกษาผลกระทบของความสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายและอาการปวดหลังแก่พนักงานควบคุมเครื่องจักรกลหนักในเหมืองหิน. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมมหบัณฑิต, สาขาการจัดการอุตสาหกรรม]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2545

Carel Hulshof, Brinio Veldhuijzen van Zanten. Whole-body vibration and low-back pain. International Archives of Occupational and Environmental Health 1987; 59: 205–220.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, Vinterberg H, Biering-Sørensen F, Andersson G, Jørgensen K. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied Ergonomics 1987;18: 233-237.

Olanrewaju O. Okunribidoa M, Marianne Magnusson, Malcolm Pope. Delivery drivers and low-back pain: A study of the exposures to posture demands, manual materials handling and whole-body vibration. International Journal of Industrial Ergonomics 2006;36: 265-273.

Wewers ME, Lowe NK. A critical review of visual analogue scales in the measurement of clinical phenomena. Research in Nursing and Health 1990; 13: 227-236

ศุภัทธนันท์ รักพงษ์. ประสิทธิผลของอุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือนที่เท้าในพนักงานแผนกเย็บผ้าของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

มยุรี หน่อพัฒน์. การออกแบบเบาะรอนั่งรถบรรทุกเพื่อลดความสั่นสะเทือนและความรู้สึกเมื่อยล้าของพนักงานขับรถบรรทุกหนัก. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17