การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ

ผู้แต่ง

  • จันทิมา ดรจันทร์ใต้
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

พนักงานในอุตสาหกรรม, ความสัมพันธ์ของความเสี่ยง, BRIEF’s survey, REBA, RULA

บทคัดย่อ

          การค้นหาสาเหตุของความเมื่อยล้าของร่างกายจากการทำงาน สามารถใช้การประเมินท่าทางการทำงานโดยนำหลักการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับท่าทางและลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไป โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ในกลุ่มตัวอย่าง 107 คน ที่ต้องคัดกรองด้านความเสี่ยงการยศาสตร์ด้วยเทคนิคการประเมินของ BRIEF’s survey และใช้แบบสัมภาษณ์ ได้พนักงานที่มีลักษณะงานยืน จำนวน 37 คนเพื่อทำการการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์เฉพาะด้วยวิธี Rapid Entire Body Assessment (REBA) และ Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (75.68 %) อายุอยู่ในช่วง 21-43 ปี มีอายุงานเฉลี่ย 20.59 เดือน ส่วนใหญ่ทำงานในแผนกบรรจุ (packing) (43.23 %) ซึ่งจากการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นด้วยวิธี BRIEF’s survey พบว่าส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงในระดับสูง (52.34%) ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี REBA พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก (78.38%) และผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี RULA พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก (70.27%) เช่นเดียวกัน โดยจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของผลการประเมินความเสี่ยงของ REBA และ RULA พบว่า การประเมินด้วยวิธี REBA มีความสัมพันธ์กันทางบวกสูงกับวิธี RULA มีค่าสหสัมพันธ์ 0.726 โดยถ้าคะแนน RULA สูง คะแนน REBA ก็สูงตามด้วย ซึ่งผลจากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ 2 เทคนิคนี้ถือได้ว่าพนักงานอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขโดยทันที จึงเสนอแนะการอบรมพนักงานด้านการยศาสตร์ การปรับปรุงสถานีงานให้เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ การแก้ไขด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการให้เหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน

References

สำนักงานประกันสังคม. ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน 2557 [อินเทอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file57/table032557.html

สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2553-2557 [อินเทอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sso.go.th/wpr/ uploads/uploadImages/file/accidentanalyze53-57(1).pdf.

Bernard TE. Washington state WISHA screening tool (modified)[Internet]. 2010 [cited 2016 June 20]. Available from: http://personal.health.usf.edu/tbernard/HollowHills/WISHA_ Checklist20.pdf.

Hoogendoorn WE, Van MN, Bongers PM, Koes BW, Bouter LM. Physical load during work and leisure time as risk factors for back pain. Scand J Work Environ Health 1999; 25: 387-403.

ณัฐพงษ์ นาทัน, กาญจนา นาถะพินธุ. อาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของคนงานในโรงงานยางพาราแผ่น : กรณีศึกษาโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558; 7: 178-83.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. การปวดหลังจากการทำงาน: ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรรู้. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ 2552; 2: 46-57.

Schumann JN. An analysis of ergonomic risk factor relating to stains at company XYZ. [Master thesis of Science in Risk Control]. Menomonie, Wisconsin, USA: Graduate School, University of Wisconsin-Stout; 2007.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, วิวัฒน์ สังฆะบุตร. การประยุกต์ใช้เทคนิค BRIEFTM Survey ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานในผู้รับงานมาทำที่บ้าน กลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2557; 26: 56-66.

จันจิราภรณ์ วิชัย และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 19: 708-19.

McAtamney L, Corlett, EN. RULA: a survey method for the investigation of world-related upper limb disorders. Applied Ergonomics 1993; 24: 91-9.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดย มาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 35-40.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2551.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, จันทิมา ดรจันทร์ใต้, จันจิราภรณ์ วิชัย. การประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานของพนักงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2559; 1: 8-17.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2558.

Ansari NA, Sheikh MJ. Evaluation of work Posture by RULA and REBA: A Case Study. IOSR-JMCE 2014; 11: 18-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17