สถานการณ์โรคจากการทำงานของเกษตรกรปลูกพืชไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สัญญา พึงสร้างแป้น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การเจ็บป่วย, อุบัติการณ์, อัตราตาย, โรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เกษตรกร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และการเสียชีวิตจากการป่วยของ 6 กลุ่มโรคจากการทำงานในเกษตรกรปลูกพืชไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มศึกษาเป็นเกษตรกรปลูกพืชไร่ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2559 จำนวน 30,550 ราย และใช้ฐานข้อมูลสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภูในช่วงเวลา 5 ปีดังกล่าวเพื่อทำการวิเคราะห์อุบัติการณ์ การเสียชีวิตและแนวโน้มของการเจ็บป่วยในแต่ละกลุ่มโรคจากการทำงาน แสดงอัตราอุบัติการณ์และค่าระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95%CI) ผลการศึกษาพบว่า มีเกษตรกรปลูกพืชไร่เข้ารับบริการสถานบริการสาธารณสุข จำนวน 25,523 ราย มีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 4:6 มีอายุเฉลี่ย 45.02 ปี ( SD = 9.92; min=31, max=64) พบอุบัติการณ์ของการเกิดโรคใน 5 ปีที่ผ่านมา สูงสุดคือ กลุ่มโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 39.18 (95%CI: 38.62-39.74) รองลงมาคือกลุ่มโรคเหตุทางกายภาพ ร้อยละ 20.50 (95%CI : 20.03-20.96) กลุ่มโรคผิวหนัง ร้อยละ 6.22 (95%CI: 5.95-6.50) กลุ่มโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 4.05 (95%CI: 3.82-4.27) กลุ่มโรคติดเชื้อและพิษจากพืชและสัตว์ ร้อยละ 3.52 (95%CI: 3.31-3.73) และกลุ่มโรคพิษจากสารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 0.37 (95%CI: 0.30-0.44) ตามลำดับ สาเหตุของการตายพบสูงสุดในกลุ่มโรคปอดและระบบทางเดินหายใจและผลการศึกษายังพบว่าเกษตรกรปลูกพืชไร่มีแนวโน้มการเกิดโรคจากการทำงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปีของอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นจึงควรส่งเสริมกิจกรรมด้านดูแลสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกและการรายงานอุบัติการณ์ของโรคจากการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายจากการทำงาน และการป้องกันโรคจากการทำงานโดยสนับสนุนเชิงรกุ ด้านการค้นหาผ้กู ล่มุ เสี่ยงและการอบรมให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการป่วยและการตายด้วยโรคจากการทำงานในเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกต่อไป

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. สถิติการเจ็บป่วยของประชากรจังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์] 2559.[สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] จากhttp://nbdatacenter.moph.go.th/jdatacenter/indexReport.php

สำนักเศรษฐกิจการเกษตร.ปริมาณการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ปี 2553-2558. [ออนไลน์] 2558. [สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=13577

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการเจ็บป่วยจากสารเคมีภาคเกษตรกรรม. [ออนไลน์] 2556. [สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2559] จากhttp://nbdatacenter.moph.go.th/jdatacenter/indexReport.php

สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ และคณะวิจัย. รายงานการศึกษาเรื่องโครงการศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2557

ฐิติชญา ฉลาดล้น และพิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2554;27(2):44-15

กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.ความร้อนกับการทำงาน.[ออนไลน์]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560] จาก http://www.oshthai.org /dex.php?option=com_content&view=article

ยุพิน พันธ์ชมภู และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรปลูกแตงโม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ หาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555;5(2):73-7

กรกนก พลท้าว และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรจากการเพาะปลูกมะเขือเทศเก็บเมล็ดพันธุ์ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555;5(3):31-8.

ชัชวาล กริ่งสันเทียะ และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารสกัดสะเดากำจัดแมลงศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกผัก ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสุขภาพ ภาคประชาชนภาคอีสาน 2552;23(2):45-8

สาคร ศรีมุข.ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของไทย. วารสารการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2556;7(3):31-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17